วิธีการเรียนรู้

วิธีการเรียนรู้จากมุมมองใหม่ๆ แบบไม่กดดัน ไม่เครียด

วิธีการเรียนรู้ ที่เราใช้แบบเดิมๆ บางครั้งก็ทำให้รู้สึกเครียดและกดดันขึ้นมาได้ จริงๆ แล้วโลกนี้มีวิธีการเรียนรู้ที่ไม่เครียดด้วย เพียงแค่เปลี่ยนมุมมองเท่านั้น เรื่องที่ดูเครียดก็จะกลายเป็นเรื่องสนุก

 

วิธีการเรียนรู้ จากมุมมองใหม่ๆ แบบไม่กดดัน ไม่เครียด จะเป็นอย่างไรมาดูกัน

 

ทำตามความฝัน

สิ่งสำคัญในการทำความฝันให้ลุล่วงคงหนีไม่พ้นความทะเยอะทะยานและความอดทน หากไม่มีสองสิ่งนี้คงทำให้ความฝันเป็นจริงไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้พันแซนเดอร์สก่อตั้ง KFC แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดระดับโลกหลังจากถูกปฏิเสธถึง 1,009 ครั้งก่อนจะเซ็นสัญญากับพีท ฮาร์แมน ลองนึกดูว่าเขาถูกปฏิเสธนับพันครั้ง ไม่ใช่หลักร้อย คนเราคงไม่อดทนไปพบคนอื่นได้ถึงพันครั้ง หากไม่จริงจังกับเป้าหมายของตน และสิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่าคือในปีที่เขาได้เซ็นสัญญาครั้งแรกนั้น ผู้พันแซนเดอร์สมีอายุ 62 ปี

เขาใช้เวลากว่าค่อนชีวิตในการทำตามความฝันให้เป็นจริง ต้องเข้าใจก่อนว่าความอดทนของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน ซึ่งหากคุณจะยอมแพ้ก่อนจะครบสิบครั้งก็ไม่แปลก ความฝันไม่จำเป็นต้องมีแค่สิ่งเดียว เราสามารถฝันหลายๆ อย่างได้ หากคิดว่าการประสบความสำเร็จระดับโลกมันยากและกดดันเกินไป ลองเริ่มทำความฝันเล็กๆ ให้สำเร็จดูสิ เช่น ฝันว่าอยากไปดูแสงเหนือกับตาตัวเอง หรือฝันว่าอยากจะมีหนังสือเป็นของตัวเองสักเล่ม แล้วก็ลองทำตามความฝันนั้นให้ได้

แม้ความฝันนั้นมันจะเล็กน้อยแค่ไหน อย่างน้อยเราก็ทำตามฝันของเราได้อย่างหนึ่งแล้ว เป็นก้าวเล็กๆ ที่เติมเต็มความสุขในชีวิตได้ดีเลยละ

 

การเล่นคือการเรียนรู้

ใครจะคิดว่าเรื่องเล่นๆ ที่เราทำอาจสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่น เจมส์ บาค เจมส์ เรียนรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้วยวิธี “เรียนอย่างไรก็ได้” เขาถึงขนาดลาออกจากโรงเรียนแล้วหันมาสร้างเกมคอมพิวเตอร์สนุกๆ ทั้งวันทั้งคืน เขาพยายามเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมอย่างมุมานะ จนกลายเป็นคนมีชื่อเสียงและมีความสามารถโดดเด่น แม้จะมีเพียงวุฒิการศึกษามัธยมต้น แต่เขาก็ค้นคว้าวิธีทดสอบซอฟต์แวร์ใหม่ๆ จนได้เข้าทำงานในบริษัทแอปเปิล

เคล็ดลับความสำเร็จของเจมส์ บาค คือการเรียนรู้จากความสนุกอย่างแท้จริง เคล็ดลับในการเรียนรู้ของเขาคือ การตั้งใจเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงมีวิธีการที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้นเจมส์ยังแนะนำว่า “หากมีเวลา ควรทดลองทำสิ่งใหม่ๆ” หมายความว่าให้ลองทำอย่างอื่นดูบ้าง เพราะนี่อาจกลายเป็นการเล่นที่สนุกยิ่งกว่าเดิมก็ได้

 

ตะโกนออกมาว่า “ยูเรก้า!”

ยูเรก้า มีความหมายว่า “รู้แล้ว ค้นพบแล้ว” เรารู้จักคำนี้จากเรื่องราวอันโด่งดังของอาร์คิมีดีส ผู้ค้นพบความถ่วงจำเพาะของวัตถุ เขาเป็นนักปราชญ์ชาวกรีก ทำงานในตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของพระเจ้าเฮียโรที่ 2 วันหนึ่งพระเจ้าเฮียโรที่ 2 ทรงสงสัยว่าช่างทองแอบยักยอกทองคำที่ใช้ทำมงกุฎตามข่าวลือหรือไม่ แต่ไม่อาจทำลายมงกุฎให้กลายเป็นเศษทองเพื่อพิสูจน์ได้ จึงรับสั่งให้อาร์คิมีดีสหาวิธีตรวจสอบ

อาร์คิมีดีสคิดเท่าไหร่ก็หาวิธีพิสูจน์ไม่ได้ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาทิ้งตัวลงในอ่างอาบน้ำแล้วน้ำก็ล้นออกจากอ่าง ทันใดนั้นเองเขาพลันนึกถึงแนวคิดเรื่องความถ่วงจำเพาะของวัตถุ ที่ว่าน้ำซึ่งล้นออกมาจะเท่ากับปริมาตรของร่างกายที่แช่อยู่ในน้ำ ด้วยความดีใจเขาจึงตะโกนออกมาว่า “ยูเรก้า!”

วิธีการนั้นอยู่ที่ “การหยุด” แล้วค่อยคิดอีกครั้งในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน เขาล้วนมี “แรงบันดาลใจ” เหมือนกันซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการแก้ปัญหา

“การหยุด” จะช่วยให้เราเห็นปัญหาในมุมมองใหม่ๆ ปัญหาที่ซับซ้อนนั้นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลาย หากเรามองปัญหาในมุมเดียวจะทำให้หาทางแก้ไขได้ยากขึ้น ดังนั้นหากเราหยุดแล้วไปทำสิ่งอื่น ก็จะมีโอกาสเห็นปัญหาในมุมที่แตกต่างกันออกไป

 

มุมมอง ไม่ใช่มุมที่เห็น

“อ้าว หายไปไหนแล้ว” ใครคนหนึ่งวุ่นวายกับการหาลวดเสียบกระดาษบนโต๊ะ เขามั่นใจว่าตัวเองเพิ่งหยิบลวดเสียบกระดาษออกมาจากในลิ้นชักแล้ววางไว้บนโต๊ะเมื่อกี้ แต่ตอนนี้กลับหายไปแล้ว เขาหาอยู่สักพักจนมีคนเดินผ่านมาแล้วถามว่า “หาอะไรอยู่เหรอ” “เรามั่นใจว่าเราหยิบลวดเสียบกระดาษออกมาวางไว้ แต่ตอนนี้มันหายไปแล้ว” “นั่นไง อยู่ใกล้ดินสอไง มองไม่เห็นหรอ”

สรุปว่าเขาไม่เห็นลวดเสียบกระดาษหรือไม่สามารถมองเห็นกันแน่ คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเขาไม่เห็น และบางส่วนอาจคิดว่าเขาไม่สามารถมองเห็น แต่จริงๆ เป็นเพราะเขา “ไม่ได้มอง”  คุณอาจคิดว่าไม่มีทางเป็นเช่นนั้นหรอก เข้าจะไม่มองได้อย่างไรในเมื่อเขาตั้งใจหาขนาดนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือนิยามที่แท้จริงของคำว่า “มอง” นั่นเอง

สมองซีกซ้ายทำหน้าที่เกี่ยวกับตรรกะ เหตุผล ภาษา และการคิดคำนวณ ซึ่งเสริมสร้างและพัฒนาได้ด้วย “การเรียนรู้ ฝึกฝน และสั่งสมประสบการณ์” เนื่องจากถูกสมองซีกซ้ายปิดกั้นไว้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้ยินเสียงบางอย่างแล้วรู้สึกถึงความไพเราะ สมองซีกซ้ายจะเรียกร้องให้อธิบายอย่างมีตรรกะว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ส่วนใหญ่สมองซีกขวาจะไม่สามารถอธิบายความไพเราะของเสียงให้สมองซีกซ้ายเข้าใจได้ จึงถูกสมองซีกซ้ายปิดกั้นไว้โดยสิ้นเชิง

ดังที่จอร์เจีย โอคีฟ ศิลปินเจ้าของภาพดอกไม้พูดว่า “ไม่มีใครมองดอกไม้กันจริงๆ หรอก เพราะมันมีขนาดเล็กมากจึงต้องใช้เวลา เราไม่มีเวลามากก็จริง แต่การมองดอกไม้ก็ต้องใช้เวลาเหมือนกับการคบเพื่อนนั่นแหละ” ทุกคนคงเข้าใจความหมายของ “การไม่มอง” กับ “การไม่ใช้เวลามองอย่างละเอียด” ที่โอคีฟพูดถึง การตระหนักถึงความงดงาม ความคิดสร้างสรรค์อย่างมีมิติและมองภาพรวมของโลก ไม่ใช่คุณสมบัติของสมองซีกซ้าย แต่สมองซีกซ้ายกลับควบคุมสมองซีกขวาราวกับมันทำสิ่งเหล่านั้นได้ทั้งหมด

 

ข้อมูลจากหนังสือ เป็นคนเก่ง ไม่ต้องรู้มาก แต่ต้องรู้จริง

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนจาก โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร

เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด

เทคนิคเรียนให้สนุกจาก โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร

บทเรียนและข้อคิดดีๆ ในการใช้ชีวิตจากคนดังระดับโลก

8 วิธีเรียนรู้ได้รวดเร็ว และมีความจำเป็นเลิศ

1 thoughts on “วิธีการเรียนรู้จากมุมมองใหม่ๆ แบบไม่กดดัน ไม่เครียด

  1. Pingback: โคโนะ เก็นโตะ หนุ่มญี่ปุ่นยอดอัจฉริยะ ฉายาราชาสมองเพชร

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า