บางครั้งที่เรารู้สึกสับสนวุ่นวายก็เพราะสมองและใจไม่เป็นระเบียบ นี่คือวิธีจัดระเบียบสมองและจิตใจแบบง่ายๆ ฝึกสมอง ให้มองแต่ความสุข
ฝึกสมอง ด้วยการ
เผชิญหน้ากับอดีต
ว่ากันว่าการหวนกลับไปยังอดีตด้วยตนเองเป็นการปลอบประโลมจิตใจ และในที่สุดก็จะสามารถนำพาตัวเองออกห่างจากประสบการณ์นั้นๆ ได้ สรุปก็คือการจะลืมได้บางทีก็จำเป็นต้องอาศัยการหวนคิดถึงประสบการณ์นั้นๆ และเผชิญหน้ากับมันเหมือนกัน
วิธีนี้สามารถนำมาใช้ได้กับหลายกรณี เช่น เวลามีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือมีปัญหาในการเข้าสังคม การเผชิญหน้ากับปัญหาโดยพาตัวเองออกมาเป็นผู้ดู แทนที่จะอยู่ในศูนย์กลางของความกังวล จะทำให้เข้าใจประเด็นปัญหาและความหมายของมัน ทำให้สามารถปลดปล่อยตนเองจากความรู้สึกด้านลบได้ในที่สุด
สร้างวงจรบวกในสมอง
ใครๆ ต่างก็มีประสบการณ์ด้านลบด้วยกันทั้งนั้น แต่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องไม่ดีไปเสียหมด เพราะมันทำให้เราแกร่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถลืมความทรงจำด้านลบ ก็อาจทำให้เราจัดการกับชีวิตในทางบวกไม่ได้ เกิดบาดแผลทางจิตใจ และส่งผลถึงทางกาย เช่น นอนไม่หลับ
เราไม่จำเป็นต้องพยายามกดข่มความรู้สึกด้านลบ มันไม่ใช่เรื่องดีเพราะทั้งความเศร้า ความกลัว และความกังวลต่างก็เป็นความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์ การพยายามหลีกหนีเท่ากับเป็นการฝืน และทำให้สมดุลของกายใจเสียไป เกิดความผิดปกติขึ้นมาแทน
การผ่านประสบการณ์ด้านลบทำให้เกิดวงจรประสบการณ์ด้านลบในสมอง และวงจรที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถเลือนหายไปได้ เราจึงต้องสร้างวงจรด้านดีขึ้นมาเลียบเคียงกับวงจรด้านลบ ความคิดลบเมื่อเกิดมากๆ ก็รู้สึกอึดอัด หากสร้างวงจรทางบวกไว้บ้างเราก็สามารถนึกถึงเรื่องที่มีความสุขได้
ฝึกยอมรับสิ่งที่ไม่คาดฝัน
ไม่ว่าใครต่างก็ไม่ได้คาดหมายสภาพการณ์ในปัจจุบันไว้ ก็เหมือนกับการที่เราไม่สามารถคาดการณ์ในตอนนี้ได้ว่า อีกหนึ่งปีให้หลังสิ่งที่แวดล้อมตัวเราอยู่จะกลายเป็นเช่นไร
“การให้ความสำคัญกับอนาคต” แตกต่างจาก“การวางแผนอย่างละเอียดโดยมีเป้าหมายในอนาคต” อย่างสิ้นเชิง แน่นอนว่าอย่างน้อยที่สุดเราควรวางแผนเรื่องรายรับ แต่การไม่วางแผนชีวิตต่างหากที่เป็นเคล็ดลับ
ในการวางแผนนั้น เมื่อได้วางแผนก็เท่ากับว่าได้ออกตัวจากจุดเริ่มต้นแล้ว สุดท้ายแล้วก็จะคิดว่าอนาคตคือรอยต่อของปัจจุบัน ซึ่งผลลัพธ์อาจกลายเป็นว่าเราไปจำกัดความเป็นไปได้ของอนาคตตัวเองไปเสีย
ข้อเสียอีกอย่างก็คือพอเราเอาใจไปจดจ่ออยู่กับการทำให้ชีวิตเป็นไปตามแผนแล้ว พอเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันไว้ก็จะไม่รู้ว่าจะหาทางรับมือกับมันอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นเช่นนั้น จำเป็นที่เราจะต้องฝึกซ้อมยอมรับสิ่งที่ไม่คาดฝันให้เป็นเรื่องปกติไว้บ่อยๆ
Focus
เพื่อลดความกดดัน
วิธีการก็คือ ให้เริ่มจากการเอาความรู้สึกไปไว้กลางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกลางหน้าอกหรือบริเวณท้อง ปล่อยใจให้ล่องลอยไป แล้วนึกถึงเรื่องที่รบกวนจิตใจอยู่ เช่น คิดถึงบริษัทหรือเพื่อนร่วมงานที่รู้สึก “เกลียดจังเลย” จากนั้นให้หาคำที่ลงตัวกับความรู้สึก “เกลียดจังเลย” ซึ่งเพียงแค่หาคำที่ลงตัวได้ก็จะทำให้รู้สึกว่าได้ปลดปล่อยแล้ว
ในกรณีที่ทำ focusing ต่อเนื่อง ก็จะมีการตั้งคำถามกับตนเองต่อในเรื่องที่รบกวนจิตใจอยู่ว่า ทำไมมันจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจขนาดนั้น สิ่งที่รบกวนจิตใจอยู่นั้นมีความสัมพันธ์กับตนเองอย่างไร เช่น เราอาจจะเกลียดเพื่อนร่วมงานที่บริษัท แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงเกลียดขนาดนั้น เราก็มาคิดถึงสาเหตุของมันดู ไม่แน่อาจจะพบว่าเป็นเพราะเขาก้าวหน้าเร็วกว่าเราก็เลยอิจฉาเขาก็เป็นได้ หรืออาจเป็นเพราะเขาเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่พนักงานสาวๆ มากกว่า
พอเราให้ความสนใจกับสาเหตุที่เราเกลียดเขาแล้ว ก็ให้คิดหาว่าความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นมีความสัมพันธ์กับตัวเราอย่างไร
พบกับวิธีที่จะมีความสุขเพิ่มขึ้นผ่านการฝึกสมองให้คุนเคยกับความสุขได้จาก
สั่งซื้อ คลิก
บทความอื่นๆ
Pingback: เทคนิค การระดมสมอง (Brainstorm) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด!
Pingback: วิธีสร้างความสุข ในชีวิต ด้วยการควบคุมสมองให้คิดบวก