วิธีเปลี่ยนแปลงตัวเองฉบับเร่งรัด เป็นคนใหม่ได้ง่ายๆ ใน 5 สัปดาห์

มนุษย์เกลียดการเปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด และยังชอบหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วย คุณจึงมักล้มเหลวทุกครั้งทั้งที่ใจฮึดอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้สักที ดังนั้น เพื่อที่คุณได้สัมผัสความเปลี่ยนแปลงสักครั้งในชีวิต ก็ต้องเริ่มจากการสร้างนิสัยลงมือทำก่อน

5 สัปดาห์อาจจะดูยาวนาน แต่ขอให้คิดว่านี่เป็นระยะเวลาที่จำเป็นต่อการ เปลี่ยนแปลงตัวเอง จริงๆ โดยไม่ต้องฝืนเกินไป

 

สัปดาห์ที่ 1 “เขียนเกี่ยวกับตัวเองลงในกระดาษ A4”

สิ่งที่ต้องทำในสัปดาห์แรกสุดแสนจะเรียบง่าย ไม่มีอะไรยากเลย สิ่งที่ต้องเตรียมมีแค่กระดาษ A4 กับปากกาเท่านั้น จับกระดาษวางในแนวตั้ง แบ่งตารางออกเป็น 3 ช่อง รายการฝั่งซ้ายเขียน “ตัวเราในปัจจุบัน” ตรงกลางเขียน “ตัวเราจากนี้ไป” ฝั่งขวาเขียน “วิธีการ”ที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมาย ไม่ต้องคิดให้ยุ่งยาก เพียงแค่เขียนลักษณะของตัวเองในปัจจุบันในช่อง “ตัวเราในปัจจุบัน” และเขียนสิ่งที่ตรงข้ามทั้งหมดลงในช่อง “ตัวเราจากนี้ไป” เช่น ผมหยิกฟู ใส่แว่น คิ้วบาง หน้านิ่ง ชอบสีน้ำเงิน นึกอะไรได้ก็เขียนลงไปในช่องฝั่งซ้ายให้หมด จากนั้นก็เขียนสิ่งที่ตรงข้ามลงไปในช่อง “ตัวเราจากนี้ไป” นั่นก็คือ ผมตรง ใส่คอนแท็กต์เลนส์ เขียนคิ้ว ยิ้มบ่อยๆ ชอบสีส้ม (เพราะตรงข้ามกับสีน้ำเงิน) จากนั้นก็เขียนวิธีการที่จะนำเราไปสู่เป้าหมาย เช่น ไปยืดผม ซื้อคอนแท็กต์เลนส์ ซื้อที่เขียนคิ้ว ฝึกยิ้มหน้ากระจก ซื้อเสื้อผ้าโทนสีส้ม เป้าหมายของการฝึกนี้คือ “การเปลี่ยน” สิ่งสำคัญจึงเป็นการได้ความมั่นใจและความสามารถว่า “ฉันเปลี่ยนแปลงได้” โดยเริ่มจากการเปลี่ยนตัวเองไปในทิศทางตรงข้ามก่อน จึงทำให้เห็นพฤติกรรมใหม่ชัดเจนโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการคิด และเริ่มลงมือปฏิบัติได้ง่ายขึ้น นี่คือจุดสำคัญของการฝึกในสัปดาห์ที่หนึ่ง    

สัปดาห์ที่ 2 “เขียน ‘บันทึกสิ่งใหม่’”

  ในสัปดาห์นี้ ให้เร่งเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ โดยใช้วิธีการ “บันทึกสิ่งใหม่” สิ่งที่เขียนลงในกระดาษ A4 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือพฤติกรรมใหม่ๆ ที่จะทำต่อจากนี้ เช่น ปกติใช้บันไดเลื่อนของสถานีรถไฟฟ้า วันนี้เปลี่ยนมาใช้บันไดแทน ที่ผ่านมาตื่น 7 โมงเช้า  ส่วนวันนี้ลองตื่น 6 โมงเช้า ปกติจะพยายามหลบหน้าคุณ A ที่เป็นผู้จัดการฝ่าย แต่วันนี้ลองเอ่ยปากทักทายดู มื้อเที่ยงลองไปกินอาหารที่ร้านใหม่ๆ แทนร้านประจำ หรือสั่งเมนูที่ไม่เคยสั่งมาก่อน ให้เขียน “สิ่งใหม่” 1-3 เรื่องลงในบันทึกเสมอ จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ได้ แค่หากตั้งเป้าหมายที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ยากจนเกินไป จะกลายเป็นล้มเหลวแทน ต้องระวังตรงจุดนี้ด้วย  

สัปดาห์ที่ 3 “ใช้ความรู้สึก ‘ยุ่งยาก’ เป็นสัญญาณลงมือทำ”

มาถึงตรงนี้แล้ว คุณน่าจะไม่ค่อยต่อร้านการเริ่ม “สิ่งใหม่” แล้ว ในสัปดาห์ที่ 3 เรามาเริ่มทำสิ่งใหม่ให้เป็นนิสัยกัน พฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการนี้มีเพียงอย่างเดียว นั่นคือ “เคลื่อนไหวทันทีเมื่อรู้สึกยุ่งยาก” มีเรื่อง “ยุ่งยาก” มากมายในชีวิตประจำวัน เช่น   จานชามรอช้างเต็มอ่างล้างจานในครัว ต้องตอบเมลลูกค้าที่จู้จี้จุกจิก ใบเสร็จที่ต้องสรุปกองสะสมอยู่หลายใบ ต้องจองร้านสำหรับงานเลี้ยงให้แม่   ลองจินตนาการเวลาเจอเรื่องแบบนี้จริงๆ คุณน่าจะรู้สึกว่า “ยุ่งยาก” เราต้องเปลี่ยนความรู้สึกยุ่งยากนี้ให้เป็นสัญญาณเริ่มลงมือทำ เช่น พอเห็นจานชามกองเต็มห้องครัว ทันทีที่รู้สึกว่า “ยุ่งยาก” ให้ตรงไปล้างจานทันที พอทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นนิสัย ตัวเราจะตอบสนองความยุ่งยาก ให้กลายเป็นสัญญาณเริ่มต้นลงมือทำโดยอัตโนมัติ  

สัปดาห์ที่ 4 “ทำเรื่องที่ ‘น่าอายสุดๆ’”

การฝึกฝนในสัปดาห์นี้คือ การกำจัดความกลัวการเปลี่ยนแปลงออกไปด้วยการทำเรื่องน่าอายสุดๆ เช่น   เรื่องที่ 1 ไปซื้อไอศกรีมในร้านสะดวกซื้อ แล้วบอกพนักงานตอนจ่ายเงินว่า “ช่วยอุ่นให้ด้วยค่ะ”   เรื่องที่ 2 ไปซื้อน้ำในร้านสะดวกซื้อ  แล้วเดินออกมา จากนั้นกลับเข้าไปใหม่ บอกว่าลืมหยิบน้ำไปด้วย แต่จริงๆ น้ำอยู่ในมือ   การทำเรื่องน่าอายช่วยให้ชินกับความกดดัน ถ้าเปรียบเทียบกับการฝึกฝนกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการฝึกฝนทางร่างกาย นี่ก็เป็น “การฝึกฝนทางใจ” การใช้ชีวิตแบบปกติ จิตใจจะไม่ได้รับภาระนัก แต่ถ้าได้รับแรงกดดันจนเกินรับไหว เมื่อคุณฟื้นจากตรงนั้นได้ จิตใจจะเข้มแข็งมากขึ้น   การทำเรื่องน่าอายสุดๆ ไม่ได้หมายความว่าให้ทำเรื่องที่ต้องหมดอนาคตทางสังคม หรือสร้างปัญหาให้กับผู้อื่น ส่วนมากแล้วจะเป็นเรื่องที่จบลงพร้อมร้อยยิ้ม  ดังนั้นจงวางใจได้เลย  

สัปดาห์ที่ 5 “ใช้ศัตรูให้เป็นประโยชน์”

ตอนสุดท้ายของการฝึกอยู่ที่สัปดาห์นี้ ตอนนี้เราจะฝึกโดยการใช้ศัตรูให้เป็นประโยชน์ คำว่าศัตรูอาจจะดูรุนแรงไปสักนิด ให้คิดว่าเป็นคนหรือเรื่องที่ไม่ค่อยถนัดจะดีกว่า เช่น สมมติว่ามีคนที่ไม่อยากเข้าใกล้เลยที่บริษัท ปกติเราคงพยายามไม่ไปยุ่ง หรือไม่ได้ยินเสียงใดๆ จากคนคนนี้ เราต้องเข้าหาเขาแล้วพยายามใช้ประโยชน์จากอีกฝ่าย เช่น ลองชวนคุยดูว่าเขาพอจะมีอะไรใหม่ๆ ให้เราเรียนรู้ไหม ลองไปสถานที่ที่ไม่ชอบ เช่น ถ้าไม่ชอบที่ที่คนเยอะ วันหยุดให้ลองไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวดู ลองเลือกสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น สมมติว่าปกติไม่ชอบกินไอศกรีมรสมิ้นต์ ก็ให้ลองซื้อไอศกรีมรสมิ้นต์มากิน สิ่งสำคัญของการฝึกในครั้งนี้ ไม่ใช่การกำจัดศัตรู คิดเสียว่า เราไม่มีทางย้อมแพ้ และจะช่วยให้เกิดแรงต้านน้อยลงด้วย หากคุณสามารถใช้ประโยชน์จากศัตรูได้ จะช่วยบ่มเพาะพฤติกรรม ความคิดในเชิงเป้าหมาย และความกระตือรือร้นเพื่อไปสู่เป้าหมายได้  

ข้อมูลจากหนังสือ แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 
บทความอื่นๆ กฎ 3 ข้อสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากนักอ่านใจไดโกะ เลือกเปลี่ยนชีวิต แบบทดสอบการเลือก ที่ส่งผลต่ออนาคตคุณได้ วิธีเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใน 7 วัน  

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า