วิธีแก้ปัญหา ในการทำงานที่รวดเร็ว และได้ประสิทธิภาพที่สุดในโลก!

ทักษะการแก้ปัญหา หรือ วิธีแก้ปัญหา ที่รวดเร็ว เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน หากใครมีทักษะนี้สูงก็จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของบริษัท แต่น่าแปลกมาก เพราะทั้งๆ ที่มีปัญหาที่ต้องแก้ไขเป็นประจำ หลายคนกลับแก้ปัญหาผิดจุดบ้าง ไม่มีเป้าหมายบ้าง บางคนถึงขนาดไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับปัญหาอยู่

ในปัจจุบันการแก้ปัญหาได้ถูกต้องไม่ช่วยให้เอาตัวรอดได้เสมอไป แต่คุณต้องแก้ไขด้วย “ความเร็ว” จึงจะสามารถชนะคู่แข่งคนอื่นๆ ด้วย

มาดูกันว่า วิธีแก้ปัญหา ที่รวดเร็วที่สุดในโลกต้องทำอย่างไร

 

จะแก้ปัญหาได้รวดเร็วหรือไม่อยู่ที่ “10 นาทีแรก”

                 ถ้าเราก้าวพลาดตั้งแต่เริ่ม ก็จะได้วิธีแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม มิหนำซ้ำอาจทำให้ปัญหากลับยิ่งยุ่งเหยิงไปกันใหญ่ จนต้องหาหนทางอื่นๆ สุดท้ายเลยเสียเวลาโดยใช่เหตุ เมื่อเจอปัญหาเราควรใช้เวลา 10 นาทีแรกให้มีคุณภาพที่สุด ด้วยการ “หาสาเหตุ” ของปัญหา

                 ปัญหานั้นมองเห็นไม่ง่าย ทำให้คนเราคิดไม่ตกว่า “จุดนี้ก็ไม่ใช่” “จุดนั้นก็ไม่เกี่ยว” พอมองเห็นไม่ชัด ยังไม่ทันแน่ใจว่าสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ ก็ลงมือแก้ไขเสียแล้ว พอลงมือแก้ไขแบบขายผ้าเอาหน้ารอดก็ล้มเหลว

ก่อนอื่น เราต้องมองให้เห็นสาเหตุของปัญหา และมองเห็นภาพรวมว่ากำลังเดือดร้อนเรื่องอะไรยังไง เมื่อมองเห็นภาพรวมของปัญหา แล้วหากทางปรับแก้เพื่อให้ปัญหาคลี่คลาย ยังไงก็ต้องแก้ไขได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน

 

กำจัด “ความเชื่อ” และ “อคติ” ทิ้งให้หมด

                ถ้าเรารับมือปัญหาด้วยความเชื่อหรืออคติ จะแก้ปัญหาแบบไม่ตรงเป้าและล้มเหลวได้ง่าย เช่น เวลายอดขายไม่ถึงเป้า หากหัวหน้ารู้สึกอยู่แล้วว่านักขายออกไปเสนอขายให้ลูกค้าน้อยเกินไป เขาย่อมมีแนวโน้มจะคิดว่า “ยอดขายไม่ถึงเป้าเพราะนักขายไปเสนอขายน้อยไงล่ะ” แม้มีสาเหตุอื่น แต่พอเชื่อไปแล้ว จะรวบรัดตัดความว่าปัญหามาจากนักขายเสนอขายน้อยครั้งเกินไป

                ถ้าอยากมองปัญหาตรงๆ ไม่ผ่านเลนส์ของอคติ สิ่งสำคัญคือต้องหยุดคิดว่า “ใช่อย่างนั้นจริงหรือ” หรือ “เราตัดสินจากความเชื่อฝังหัวหรือเปล่า”

 

กลั่นกรองภาพรวมของปัญหาด้วย “2 คำถาม”

                  สาเหตุที่คนเราฝึกแก้ไขปัญหาไม่ได้ เพราะ “เมื่อเจอปัญหา เราพุ่งสู่การแก้ปัญหาทันที ไม่คิดถึงสาเหตุ” ก่อนอื่นเราต้องหยุดคิดว่า “ทำไม” จนติดเป็นนิสัย ที่ผ่านมาเราคิดว่า “จะแก้ปัญหาอย่างไรดี” แต่จากนี้ไปให้หันมาคิดว่า “ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้” ด้วย 2 คำถามนี้

1.“ถ้าต้องยกสาเหตุของปัญหาขึ้นมา 1 ข้อ นั่นคืออะไร”

2.“ถ้าปัญหานั้นได้รับการแก้ไข ปัญหาทั้งหมดจะคลี่คลายไหม”

                 สองคำถามนี้มีพลังอย่างน่าตกใจ ตอนจัดประชุมกันในหน่วยงานตามปกติ แม้จะพยายามอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังกลั่นกรองหาสาเหตุได้มากที่สุดแค่ 40-50 ข้อ แต่เมื่อนำสองคำถามนี้มาใช้ ก็กลั่นกรองหาสาเหตุได้อย่างน่าประหลาดใจ โดยหาสาเหตุได้มากกว่าเดิมถึงห้าเท่า ในแง่หนึ่งนี่ถือเป็น “คำถามแห่งเวทมนตร์” เลยทีเดียว

 

ลุยแบบไม่ยอมแพ้

บางคนเจอปัญหาแล้วหนี

                 อุตส่าห์มีทักษะแก้ไขปัญหาด้วยความเร็วสูงแล้วแท้ๆ พอเจอปัญหาเข้าจริงกับหนีเสียอย่างนั้น จำไว้ว่า ถ้าเราหนีจากปัญหา จะไม่มีทางแก้ปัญหาได้เลย ต่อให้เรียนรู้วิธีฝึกให้ตัวเองมีทักษะแก้ไขปัญหามามากขนาดไหนก็เถอะ ถ้าหนีจากปัญหาเมื่อไร สิ่งที่เรียนมาก็ไร้ความหมาย

                เมื่อปะทะกับปัญหา เราหลีกเลี่ยงความรู้สึกด้านลบไม่ได้ ขอให้อ้าแขนรับด้วยใจสู้ มองเสียว่ายังมีโอกาสให้แก้ปัญหา แล้วนำทักษะแก้ปัญหามาปฏิบัติอย่างจริงจัง ลองแล้วอาจจะล้มเหลว แต่ความล้มเหลวก็เป็นแรงใจสำหรับครั้งต่อไปได้ หากเราหนีจากปัญหาไหน วันหนึ่งปัญหาแบบเดียวกันก็จะเข้ามาหาเราอีกเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น เป็นเพราะคุณไม่รู้จักเผชิญหน้ากับปัญหา และเรียนรู้วิธีรับมือกับปัญหานั่นเอง

                เมื่อเผชิญกับปัญหา ห้ามทิ้งความรู้สึกว่า “เราจะปะทะกับปัญหาซึ่งหน้า” เด็ดขาด นี่จะเป็นก้าวแรกของการแก้ปัญหาที่ดี

 

ข้อมูลจากหนังสือ วิธีแก้ปัญหาที่รวดเร็วที่สุดในโลก

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

สาเหตุ วิธีป้องกัน และวิธีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน

5 วิธีรับมือกับปัญหาจากลูกน้อง ที่หัวหน้าทุกคนต้องพบเจอ

เทคนิคคิดและทำงานให้เหมือน ผู้บริหาร หรือ ประธานบริษัท

วิธี “จัดระเบียบความคิด” ที่ช่วยให้คุณทำงานง่ายยิ่งขึ้น

เคล็ดลับการทำงานแบบคนโคตรเก่งจาก Netflix ที่ขึ้นชื่อเรื่องการสร้างทีมเก่ง

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า