เทคนิคตัดสินใจเร็ว ทำอย่างไรถึงตัดสินใจได้รวดเร็วและไม่ผิดพลาด

ทักษะการ ตัดสินใจเร็ว เป็นทักษะที่ทุกคนควรมีติดตัวไว้ ดังทฤษฎีเฟิร์สเชสบอกไว้ว่า “การใช้เวลาตัดสินใจ 5 วินาทีกับ 30 นาที ผลลัพธ์อาจเหมือนกัน” ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นเลยที่เราต้องใช้เวลามากเพื่อตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

แล้วถ้าอยาก ตัดสินใจเร็ว ขึ้นต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

 

ใช้เวลานาน ไม่ได้ช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้น

รู้จัก “ทฤษฎีเฟิร์สเชส” กันไหม มีรายงานว่า ไม่ว่าจะเป็นเกมหมากรุกที่ต้องเดินหมากภายใน 5 วินาที หรือเกมหมากรุกที่สามารถใช้เวลาได้ถึง 30 นาทีนั้น ที่จริงแล้วคนเล่นมักเลือกเดินหมากด้วยวิธีการเดียวกันมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์

เมื่อสั่งสมประสบการณ์มากแล้ว สามารถใช้เวลาเพียง 5 วินาทีในการคิดคำตอบเดียวกับ 30 นาทีได้นั่นเอง หรือถึงจะใช้เวลานานขึ้น สุดท้ายก็ตัดสินใจไม่ต่างกับการตัดสินใจอย่างฉับพลัน ถ้าเป็นเช่นนั้น สู้ตัดสินใจไปเรื่อยๆ จะดีกว่าต้องรอให้จวนตัวแล้วค่อยตัดสินใจ จิตใจเราจะรู้สึกสบายขึ้น และไม่ตัดสินใจผิดพลาดได้จริง

 

“ตัดทิ้ง”

ในการทำงาน บางครั้งต้องตัดสินใจเรื่องลำบากใจ ในกรณีที่ต้องตัดสินใจ “ตัดทิ้ง” ซึ่งนั่นอาจจะเป็นสิ่งสำคัญหรือพวกพ้องก็ได้ ในการละทิ้งไม่ได้ใช้เพียงความกล้าเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ “เกณฑ์การตัดสินใจ” เพื่อตัดสินใจ “ละทิ้ง”

ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกตัดทิ้งอะไรสักอย่าง ไม่ควรมองแต่เรื่องปัจจุบัน ควรให้ความสำคัญกับอนาคตด้วย ในการตัดสินใจเรื่องยากลำบากนั้น ต้องคิดว่า “จำเป็นต้องทิ้งอะไรบางอย่างเพื่ออนาคตข้างหน้า” เมื่อกล้าตัดสินใจตัดทิ้งบางอย่างเพื่ออนาคตได้ อนาคตที่หวังไว้ก็จะมาถึงภายในไม่ช้า

 

ไม่โฟกัสกับ “ปัญหาที่มองเห็น” เพียงอย่างเดียว

เมื่อเจอปัญหา นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจ รายละเอียดในการตัดสินใจจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของปัญหาที่พบ เราต้องพยายามหาและทำความเข้าใจว่า “ต้องตัดสินใจเรื่องอะไร” และจำเป็นต้องพิจารณาในหลากหลายแง่มุมว่า “อะไรคือสิ่งที่เป็นปัญหา”

สมมุติว่ามีน้ำฝนรั่วเข้ามาในห้องทำงาน ดูเหมือนว่าสาเหตุจะมาจากฝนที่ตกในลักษณะสาดเฉียง และเราคิดว่า ฝนตกแบบสาดเฉียงแบบนี้คงเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็เกิดปัญหารั่วซึมอีก จึงทำการสำรวจครั้งใหญ่และพบว่าปัญหาเกิดจากรอยร้าวที่ผนังห้อง

คนที่มองแค่ปัญหาที่อยู่ตรงหน้า กับคนที่พิจารณาว่า “ทำไมถึงเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้น” ย่อมมีมุมมองการตรวจพบปัญหาที่แตกต่างกัน มุมมองเหล่านี้จะส่งผลกับความแม่นยำในการตัดสินใจด้วย

คนที่มองแต่ปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าจะตัดสินใจอย่างผิวเผิน ส่วนคนที่ตั้งคำถามว่า “ทำไม” จะสามารถตัดสินใจไปถึงแก่นแท้ของปัญหาได้

 

กำหนดระดับความสำคัญ

ท่ามกลางสิ่งที่เราควรทำ เรื่องที่ต้องตัดสินใจซึ่งมีจำนวนมากมาย สิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงไปสู่ความสำเร็จจริงๆ อาจมีเพียงหยิบมือเท่านั้น เราสามารถเพิ่มผลลัพธ์และประสิทธิผลได้ด้วยการคัดเลือกให้เหลือเฉพาะสิ่งสำคัญที่ต้องตัดสินใจเท่านั้น ดังนั้นเมื่อต้องกำหนดลำดับความสำคัญ ให้พิจารณาดูว่า งานที่จะเกิดผลกระทบหากไม่ได้ทำมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และตัดสินใจลงไปอย่างเด็ดขาด สิ่งนี้เป็นเครื่องช่วยอย่างหนึ่งในการกำหนดลำดับความสำคัญ

 

ลดความเสี่ยง

คนที่เก่งเรื่องการตัดสินใจมักจะไม่ลืมลดระดับความเสี่ยง เพื่อลดความเสียหายที่จะได้รับให้เหลือน้อยที่สุดหากความเสี่ยงนั้นกลายเป็นความจริง

เช่น การทำประกันเป็นตัวอย่างที่ดีของการลดความเสี่ยง เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย ประกันการเดินทาง ที่รองรับความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ในการตัดสินใจ เราจำเป็นต้องทราบว่ามีความเสี่ยงเรื่องใดบ้าง อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้หรือไม่ และไตร่ตรองว่าหากสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง จะมีวิธีการใดที่สามารถบรรเทาความเสียหายได้บ้าง เมื่อคิดได้เช่นนี้จะเกิดความกระตือรือร้นในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำยิ่งขึ้น

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทุกเรื่องสำเร็จได้ถ้าตัดสินใจใน 5 วิ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

วิธี “จัดระเบียบความคิด” ที่ช่วยให้คุณทำงานง่ายยิ่งขึ้น

3 เทคนิคการจัดระเบียบความคิด เพื่อชีวิตที่เป็นระบบ

ความคิดที่ขวางทางก้าวหน้า ทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จ

เทคนิคการจำที่ใครๆ ก็ทำได้จาก โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร

โคโนะ เก็นโตะ หนุ่มญี่ปุ่นยอดอัจฉริยะ ฉายาราชาสมองเพชร

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า