เส้นประสาท

3 ปัญหาเส้นประสาท ที่นำพาสารพัดโรคมาสู่ร่างกาย

สาเหตุหลักที่ทำให้ เส้นประสาท เสื่อมสภาพเร็วมี 3 ปัญหาใหญ่ๆ นั่นคือ ทับ-รั่ว-เกิน หากเส้นประสาทเสื่อมลงเมื่อไร สารพัดโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่ายดายขึ้น

โรคที่เกิดจากเส้นประสาทเสื่อมได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเขา ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เหน็บชา เบาหวาน บวมน้ำ ท้องผูก อาการวัยทอง หน้ามืด ซึมเศร้า หงุดหงิด ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราทั้งสิ้น

มาดูกันว่า 3 ปัญหาใหญ่ที่ทำลาย เส้นประสาท มีอะไรบ้าง

 

ทับ

เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ กระแสประสาทจะวิ่งช้าลง การส่งสัญญาณจะถูกปิดลงเหมือนเวลาไฟฟ้าดับ สาเหตุของการถูกกดทับจนขาดช่วงนั้นมีหลายอย่าง แต่ส่วนมากมาจาก สรีสะท่าทางที่ผิด และ การไหลเวียนเลือดไม่ปกติ เช่น เป็นโรคโลหิตจาง

สรีระท่าทางที่ผิด กระดูกสันหลังที่งอ เบี้ยว คด หรือกระดูกคอที่เอียงจะกดทับเส้นประสาท เส้นประสาทที่ถูกกดทับนั้นก็คล้ายสายยางที่ถูกบีบเอาไว้ สัญญาณประสาทจะวิ่งผ่านไม่ได้เหมือนน้ำที่ถูกกักอยู่ในสายยาง เมื่อเลือดไหลเวียนไม่สะดวก จะทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงสร้างปลอกไมอิลินได้ยากขึ้น ดังนั้นสัญญาณประสาทจึงส่งได้ไม่เต็มที่และหยุดชะงัก

เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ จะทำให้เกิดโรคดังนี้ ท้องผูก สมองเสื่อม บวมน้ำ เหน็บชา มือเท้าเย็น เป็นต้น

 

รั่ว

เมื่อปลอกไมอีลินสลายตัวและมีกระแสประสาทรั่วไหลจากบริเวณดังกล่าว กระแสประสาทจึงวิ่งไปยังจุดที่ไม่ควรไป หรือมีสารสื่อประสาท เช่น อะดรีนาลิน รั่วไหลออกจากส่วนที่ปลอกไมอิลินเสียหาย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการกดทับของเส้นประสาท หรือสารที่นำไปสร้างปลอกไมอีลินไม่เพียงพอเป็นต้น ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือรู้สึกไม่สบายตามมา

เมื่อกระแสประสาทรั่วไหล จะทำให้เกิดโรคดังนี้ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปวดจากเส้นประสาท หน้ามืด สั่น เป็นต้น

 

เกิน

เมื่อกระแสประสาทเกินจะเกิดการช็อร์ตและทำให้ปลอกไมอีลินเสียหาย หรือทำให้เส้นประสาทอยู่ในภาวะตื่นตัว สาเหตุที่ทำให้กระแสประสาทเกินคือ การกดทับเส้นประสาทที่เกิดจากสรีระที่ผิด ประสาทอัตโนมัติเสียสมดุล หรือ ความเครียดสูงจากการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกมากเกินไป

กระแสประสาทเกิน อาจทำให้เกิดปัญหาเส้นประสาทถูกกดทับและกระแสประสาทรั่วได้ แต่บางครั้ง ปัญหาการกดทับและกระแสประสาทรั่วก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกระแสประสาทเกินได้

เมื่อกระแสประสาทเกิน จะทำให้เกิดโรคดังนี้ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดไหล่ ปวดศีรษะ ปวดคอ มีเสียงวี้ดในหู ตาล้า เป็นต้น

 

 

ทำไมปัญหาของเส้นประสาทจึงทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้

ท้องผูก

ท้องผูกหมายถึงการไม่ถ่ายอุตตาระ 2-3 วัน แต่ถ้าถ่ายอย่างยากลำบากทุกวัน ถ่ายน้อย ถ่ายแข็ง ถ่ายไม่สุด ก็ถือว่าท้องผูกได้เช่นกัน อาการท้องผูกเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทตรงที่ว่า เมื่อเรากินอาหารเข้าไป การกระตุ้นจากเส้นประสาทไปยังลำไส้ใหญ่ทำให้ลำไส้ยืดและหก อุจจาระจึงเคลื่อนไปยังลำไส้ตรง จากนั้นลำไส้ตรงจะจับสัญญาณว่ามีอุจจาระมาแล้ว และส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง เมื่อสมองได้รับขข้อความจะออกคำสั่งว่า “ถ่ายอุจจาระ” จึงมีแรงขับที่ลำไส้ตรง ทำให้รู้สึกปวดท้องอยากถ่าย

ความจริงแล้ว สาเหตุของอาการท้องผูกส่วนใหญ่เกิดจากการกดทับของเส้นประสาท เมื่อเส้นประสาทถูกปิดกั้น ตัวจับสัญญาณของลำไส้ตรงทำงานช้า ข้อมูลจึงส่งไปไม่ถึงสมอง ลำไส้จึงรู้สึกปวดถ่ายน้อยลง อาการท้องผูกที่เกิดขึ้นยิ่งทำให้เส้นประสาทแย่ลงนั่นเอง

 

สมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมมาจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกกดทับ เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับและกระแสประสาทส่งไปได้ไม่ดี ประสาทการรับรู้ทั้งห้า รวมไปถึงความรู้สึกเจ็บ ร้อน หนาวจะเชื่องช้าลง เมื่อข้อมูลเหล่านั้นไม่ถูกส่งไปยังสมอง สมองก็ไม่ทำงานและวงจรประสาทก็เสื่อมลง ผลคือปลอกไมอีลินที่อยู่บนเส้นประสาทสมองจะค่อยๆ เสื่อมลงจนการรับรู้ของสมองเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมส่วนมากจึงมีปัญหาหูตึง ตามัว ไม่รู้รส ไม่รู้กลิ่น รวมถึงไม่รับรู้อุณหภูมิด้วย จึงมีความเสี่ยงที่ผิวหนังจะไหม้ การรับรู้ความรู้สึกกระหายน้ำลดลงจึงทำให้เกิดอาการฮีตสโตรกหรือโรคลมแดดได้

 

ข้อมูลจากหนังสือ คู่มือฟื้นฟูเส้นประสาทห่างไกลโรค

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

อาหารลดไขมันในเลือด กินอย่างไรให้ห่างไกลโรค NCDs

วิธีป้องกันและควบคุม NCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน

อาการบ้านหมุน เกิดจากอะไร เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

สรรพคุณของสมุนไพรไทย รักษาโรคได้หลากหลายแบบไร้สารเคมี

โรคและความผิดปกติที่มาพร้อมกับการนอนดึก นอนไม่พอ อดนอน

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า