ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อย สมองมักมีปัญหาแยกช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนไม่ได้ นาฬิกาชีวิตจึงรวนทำให้ร่างกายไม่หลั่งเมลาโทนิน (ฮอร์โมนแห่งการนอน) และฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับซ่อมแซมร่างกายออกมา หรืออาจหลั่งฮอร์โมนออกมาผิดเวลา อย่างที่เราเรียกว่า อาการ เจ็ตแล็ก (jet lag) นั่นเอง
อาการเจ็ตแล็ก
เมื่อเกิดอาการ เจ็ตแล็ก จะรู้สึกอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย การนอนหลับผิดปกติ นอนไม่หลับ ความสามารถในการทำงานลดลง
ความรุนแรงของอาการนี้แปรผันตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนโซนเวลาที่ต้องบินผ่าน ทิศทางของการบิน โดยเฉลี่ยต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งวันเพื่อปรับตัวให้เข้ากับเวลาที่เปลี่ยนไปหนึ่งชั่วโมง แต่หากเดินทางไปทางทิศตะวันตกจะมีอาการน้อยกว่าเดินทางไปทางทิศตะวันออก ส่วนการเดินทางจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ไม่มีผลต่อการเกิดอาการเจ็ตแล็ก
การเดินทางไปทิศตะวันตก เวลาช้ากว่าเวลาที่เราอยู่ในปัจจุบันทำให้เมื่อถึงที่หมายใหม่จะรู้สึกง่วงนอนเร็วกว่าปกติ คือ ง่วงนอนตั้งแต่ช่วงบ่ายไปถึงช่วงเย็นและตื่นนอนเร็วกว่าเวลาปกติ ดังนั้นการรับแสงแดดในช่วงเย็นจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น และปรับเวลาให้สมองสั่งให้รู้สึกง่วงนอนช้าลง ช่วยให้เข้านอนในที่หมายใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนการเดินทางไปทิศตะวันออก เวลาเร็วกว่าเวลาที่เราอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เมื่อถึงเวลาเข้านอนในที่หมายใหม่ เราจึงยังไม่รู้สึกง่วงเลยนอนดึกกว่าปกติ (เมื่อเทียบกับเวลาในที่หมายใหม่) และตื่นสายหรือตื่นนอนยากในตอนเช้า ทั้งนี้การออกไปรับแสงแดดช่วงเช้าในวันต่อมาจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น และปรับเวลาให้สมองสั่งให้รู้สึกง่วงนอนเร็วขึ้น
วิธีลดอาการ เจ็ตแล็ก ก่อนการเดินทาง
หากเตรียมตัวดี มีเวลาฝึกปรับเวลานอนก่อนเดินทาง ช่วยลดอาการเจ็ตแล็กได้
การเดินทางไปทิศตะวันตก ควรปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้ช้าลงประมาณวันละ 1 ชั่วโมง และขยับให้ช้าลงวันละหนึ่งชั่วโมงไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สัมพันธ์กับเวลาของประเทศในฝั่งตะวันตกซึ่งช้ากว่าประเทศไทย ทำเช่นนี้ติดต่อกันอย่างน้อยประมาณ 2 – 3 วัน และควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การเดินทางไปทิศตะวันออก ควรปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เร็วขึ้นประมาณวันละ 1 ชั่วโมง และขยับให้เร็วขึ้นวันละหนึ่งชั่วโมงไปเรื่อย ๆ เพราะประเทศในฝั่งตะวันออกของประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวลาเดินเร็วกว่าประเทศไทย ทำเช่นนี้ติดต่อกันอย่างน้อยประมาณ 2 – 3 วัน และควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ที่สำคัญควรจัดการธุระต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เพื่อลดความวิตกกังวลที่จะมีผลต่อการนอนหลับ การเตรียมตัวโดยการใช้ยาเมลาโทนิน 0.5 – 3 มิลลิกรัม (ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น) ในช่วงเย็นก่อนการออกเดินทางไปทิศตะวันออกจะลดอาการเจ็ตแล็กได้ และเพิ่มคุณภาพของการนอน รวมทั้งปรับอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
ข้อควรปฏิบัติบนเครื่องบินเพื่อป้องกันอาการเจ็ตแล็ก
- ดื่มนํ้าเปล่าให้เพียงพอ
- กินอาหารที่ย่อยง่าย
- หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน
- กินอาหารตามเวลามื้ออาหารของประเทศที่หมาย
- ปรับนาฬิกาให้เป็นไปตามเวลาของที่หมายใหม่
- ออกกำลังกายโดยลุกขึ้นหรือเดินบริหารร่างกายอยู่กับที่นั่ง
- พยายามนอนหลับให้สนิท ให้นอนและตื่นตามเวลาของประเทศที่หมาย
- หากเป็นเที่ยวบินระยะยาว ถ้ามีการจอดแวะพัก ควรตื่นล้างหน้าให้ร่างกายตื่นตัวจะทำให้สดชื่นเพิ่มมากขึ้น
ข้อควรปฏิบัติเมื่อถึงที่หมายเพื่อป้องกันอาการเจ็ตแล็ก
- เมื่อเดินทางไปถึงประเทศที่หมายให้เข้านอนตามเวลาที่ควรจะเป็นของประเทศนั้น ๆ
- การรับประทานเมลาโทนิน 3 มิลลิกรัมก่อนนอนช่วยทำให้นอนหลับได้ดีขึ้นในคืนแรก ๆ ของการเดินทาง
- หลีกเลี่ยงการนอนกลางวันในประเทศที่หมายใหม่หากจำเป็นต้องนอนกลางวันควรนอนให้น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ควรออกไปรับแดดในช่วงกลางวันเมื่อถึงที่หมายใหม่เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวกับที่หมายใหม่ได้มากขึ้น
ปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับยังมีอีกมาก เช่น 4 สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ ฯลฯ และพบกับวิธีแก้ปัญหานี้ได้จากหนังสือ นอนถูกวิธีสุขภาพดีตลอดชีวิต โดย นายแพทย์ ตนุพล วิรุฬหการุญ แล้วคุณจะสุขภาพดีตลอดชีวิต
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
Pingback: นอนไม่หลับทำไงดี ? พบ 5 เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
Pingback: นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า
WOW just what I was searching for. Came here by searching for #medical marijuana https://km.solar-fuels.org/directory/marla-burgett
Pingback: นอนไม่หลับ ทำไงดี ? พบ 5 เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
Pingback: ดีท็อกซ์ล้างพิษ เพิ่มวิตามิน ด้วย สมูทตี้เพื่อสุขภาพ จากผักและผลไม้
Pingback: ท่าบริหารร่างกายสำหรับคนที่มีอาการ ข้อเข่าเสื่อม : แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Pingback: วิธีบริหารดวงตา ด้วยปากกา 14 วันฟื้นฟูสายตาได้จริง : สายตาดีด้วยวิธีมหัศจรรย์
Pingback: 5 สูตร วิตามินบำรุงสายตา จากน้ำผักผลไม้ เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดี
Pingback: ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาหารเพื่อสุขภาพ :กินแล้วผอมจริงหรือ
Pingback: ทำไม ออกกำลังกายลดน้ำหนัก แล้วยังไม่ผอม :ความเข้าใจผิดเรื่องการลดน้ำหนัก