คำถามจิตวิทยา ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ เป็นคำถามที่ตั้งโดย ซาซากิ โชโกะ นักตั้งคำถามชื่อดังของญี่ปุ่น ที่จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด ฉับไว และได้งานคุณภาพ
ซาซากิ โชกะ ผู้สื่อข่าวและนักเขียนด้านจิตวิทยาชื่อดังของญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า ทุกปัญหาล้วนมีคำอธิบายในเชิงจิตวิทยา การทำความเข้าใจเรื่องนี้ จะช่วยให้คุณรู้จักอารมณ์ตัวเอง และมองเห็นสิ่งที่อาจมองข้ามไปได้ชัดเจนขึ้น ด้วยการยกสถานการณ์ยอดนิยมมาตั้งเป็นแบบทดสอบสนุกๆ โดยแต่ละข้อจะมีตัวเลือก 3 แบบ ที่เฉลยพร้อมคำอธิบายที่อ้างอิงจากหลักการจิตวิทยาทั่วโลก ซึ่งไม่มีข้อใดผิด เพียงแต่คำตอบที่เฉลย เป็นคำตอบที่ “เหมาะสมที่สุด” ในสถานการณ์นั้นๆ
มาลองตอบ คำถามจิตวิทยา กันดีกว่าว่าคุณจะตอบถูกทั้งหมดกี่ข้อ
ช่วงเวลาไหนเหมาะแก่การพักขณะทำงานมากที่สุด
1.“จังหวะเหมาะ” อย่างช่วงที่งานเสร็จ
2.“จังหวะไม่เหมาะ” อย่างตอนที่กำลังทำงานค้างอยู่
3.แบ่งเวลาชัดเจน เช่น พักชั่วโมงละ 5 นาที
คนเราพอลงมือทำเพื่อไปถึงเป้าหมาย ความตื่นตัวก็จะสูงขึ้น และเมื่อทำได้สำเร็จ ความตื่นตัวก็จะหายไป จึงกล่าวได้ว่า หากสร้างความรู้สึกตื่นตัวได้ถึงระดับหนึ่ง และรักษาสภาพนั้นไว้ จะช่วยให้จำได้ดีและนึกออกง่ายขึ้น การหาจังหวะพักในขณะที่งานยังไม่เสร็จจึงช่วยให้จำได้ง่ายกว่า
ดังนั้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพักระหว่างการทำงานคือ “จังหวะไม่เหมาะ” นั่นเอง หากเป็น “จังหวะเหมาะ” อย่างช่วงที่ทำงานเสร็จ หลังจากพักแล้วจะไม่มีอารมณ์อยากทำงานอีก ซึ่งทำให้ความตื่นตัวน้อยลง
หากหยุดพักในช่วงจังหวะที่ไม่เหมาะ คนเราจะอยากทำต่อ นี่จึงเป็นเทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กลับมาทำงานอีกครั้งหลังพักเสร็จ
คำตอบ : ข้อ 2.“จังหวะไม่เหมาะ” อย่างตอนที่กำลังทำงานค้างอยู่
วิธีไหนดีที่สุดในการแก้นิสัย “ผัดวันประกันพรุ่ง”
1.วางกำหนดการให้หลวมหน่อย
2.นึกถึงความสำเร็จเรื่องงานในอดีต
3.ให้คิดว่า “ถึงผัดไปทำทีหลังก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
เวลารู้สึกว่า “เอาไว้ทำทีหลัง” คนเราจะประเมินตัวเองสูงกว่าปกติ เพราะคาดหวังว่า “ตัวเองในอนาคต”
น่าจะทำได้ดีกว่าตัวเองในตอนนี้ แต่พอจะทำตอนนี้กลับเหนื่อย ไม่มีเวลาขึ้นมา เลยเลือกสบายไว้ก่อน เคยมีการทดลองเกี่ยวกับการเลือกอาหารที่ได้คำตอบแนวเดียวกัน คือ ถ้าเป็นของที่ไว้กินทีหลัง คนเรามีแนวโน้มอยากเลือกอาหารที่ดีต่อร่างกายเช่นผักและผลไม้ ในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นของที่ต้องกินทันที จะเป็นพวกฟาสต์ฟู้ด
ตัวการใหญ่ที่ทำใหเราผัดวันประกันพรุ่งคือการคาดหวังถึงตัวเองในอนาคต ซึ่งเป็นการคาดหวังที่ใหญ่หลวงเสียด้วย แต่สภาพหรือตัวเองในอนาคตนั้นไม่มีอยู่จริง จะรอวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือเดือนหน้า ความสามารถของตัวเองก็ไม่ได้สูงขึ้นขนาดนั้น เวลาก็มีเท่าเดิม ไม่มีอะไรแตกต่างจากการทำตอนนี้สักเท่าไหร่
ถ้ายอมรับได้แบบนี้ ก็ไม่ต้องคาดหวังว่าไว้ทำทีหลัง ทำตอนนี้เลยดีกว่า
คำตอบ : ข้อ 3.ให้คิดว่า “ถึงผัดไปทำทีหลังก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
วิธีจัดการงานจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
1.ตั้งเวลาไว้ 15-25 นาที และทุกครั้งให้ทำงานเพียงอย่างเดียว
2.ตั้งเวลาไว้ 30 นาที แล้วทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน
3.เลือกงานตามความรู้สึกและค่อยๆ ทำทีละอย่าง
ในทางจิตวิทยามีสภาพการณ์หนึ่งที่เรียกว่า “ความสนใจตกค้าง” เป็นวิธีคิดว่า แม้เราจะเปลี่ยนงานที่ทำตรงหน้าไปทำงานอย่างอื่น ความสนใจบางส่วนของเราก็ยังอยู่กับงานก่อนหน้า โดยทั่วไปในทางจิตวิทยาจะให้น้ำหนักไปที่การจดจ่ออยู่กับการทำงานเพียงอย่างเดียวมากกว่าการทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน
ในกรณีนี้ แทนที่จะทำงานหลายอย่างพร้อมกัน สู้แบ่งเวลาเป็นช่วงๆ จำลองเวลาเพื่อสร้างแรงกดดัน จะทำให้มีสมาธิในการทำงานมากกว่า
ตัวเลข 25 นาทีรู้สึกว่าไม่ค่อยมีที่มาที่ไปในเชิงวิทยาศาสตร์เท่าไหร่ แค่เมื่อพัก 5 นาที รวมเป็น 30 นาที ก็เป็นการแบ่งเวลาที่ดี และอาจปรับเปลี่ยนตามความยากของงานได้
คำตอบ : ข้อ 1. ตั้งเวลาไว้ 15-25 นาที และทุกครั้งให้ทำงานเพียงอย่างเดียว
ทำอย่างไรเมื่อเผชิญปัญหากับโปรเจกต์ใหญ่ๆ
1.กำหนดเดดไลน์
2.จัดการงานยิบย่อยอื่นๆ ให้เสร็จก่อน
3.ตั้งชื่อโปรเจกต์เจ๋งๆ
เคยแบกสัมภาระหนักๆ ไว้บนหลังเวลากลับบ้านแล้วรู้สึกเหมือนว่าระยะทางไกลขึ้นไหม
แน่นอนว่าถึงจะแบกสัมภาระหนัก ถึงจะเหนื่อย แต่ระยะทางกลับบ้านก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเรื่องของระยะทางเชิงจิตใจมากกว่า บางคนพอคาดคะเนว่าขากลับจะเหนื่อยกว่า ก็จะรู้สึกว่าระยะทางไกลขึ้น มีนักจิตวิทยาหลายคนที่คิดเรื่องนี้ ผลการทดลองคือ “คนเราพอคิดว่าต้องทำอะไรหลายอย่าง จะรู้สึกว่าเส้นทางที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นไกลขึ้น”
เช่น ตอนนี้เช่าบ้านอยู่ และสักวันอยากย้ายออก
พอตั้งเป้าหมายว่าจะย้ายออกภายในหนึ่งปี แล้วคิดว่ามีเรื่องที่ต้องทำมากมายเพื่อย้ายบ้าน ก็มักทำไม่ได้ตามแผน นั่นเพราะรู้สึกว่าเป้าหมายอย่างการย้ายบ้านให้สำเร็จนั้นอยู่ไกลไป แบบเดียวกับที่พอแบกสัมภาระหนักแล้วรู้สึกว่าระยะทางกลับบ้านไกลขึ้นนั่นเอง
สิ่งสำคัญคือการกำหนด ‘เดดไลน์’ ทันทีที่กำหนดเดดไลน์ เราจะเริ่มรู้สึกว่าระยะเวลากระชั้นขึ้นมาทันที สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่ากำหนดเดดไลน์ที่ทำให้รู้สึกเครียดมากเกินไป ควรกำหนดก็ต่อเมื่อมองเห็นเส้นทางที่พอจะไปให้ถึงเป้าหมายก่อน เพราะเมื่อกำหนดเดดไลน์ ภาระในใจจะเริ่มหนักขึ้น สภาพจิตใจที่ถูกบีบจะทำให้สับสนและงานไม่คืบหน้า ดังนั้นถ้ายังกำหนดลำดับไม่ชัดเจน ควรให้เวลาตัวเองในการวางแผนก่อน
คำตอบ : ข้อ 1. กำหนดเดดไลน์
ควรทำอย่างไรเวลาไม่มีอารมณ์ทำงาน
1.เริ่มแบ่งเวลา “เอาแค่ 5 นาทีก่อนก็ได้”
2.ทบทวนอีกทีว่า “เราทำงานนี้เพื่ออะไร”
3.ชวนเพื่อนที่ถูกชะตามาทำงานด้วยกัน
ถ้าอยากจัดการงานที่ยากลำบากได้ในเวลาจำกัด วิธีที่ดีที่สุดคือบอกจุดสิ้นสุดของงานก่อน จะกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนก็ได้ แต่ก็ใช่ว่าแค่เป้าหมายชัดเจนแล้ว จะทำให้ทนกับความยากลำบากได้ทุกเรื่อง แม้จะกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนแล้ว ก็ควรกำหนดเวลาด้วย
ส่วนเรื่องที่ว่า “ถ้าได้ทำด้วยกันกับเพื่อนจะช่วยให้ก้าวผ่านความยากลำบากได้” ก็ใช่ว่าจะได้ผลเสมอไป สมัยเป็นเด็ก พออยู่กับเพื่อนแล้วช่วยให้ทำการบ้านได้เร็วขึ้นไหม เผลอๆ กลายเป็นว่ามัวแต่คุยกันจนไม่ได้ทำการบ้านเลยด้วยซ้ำ
การที่ได้ทำงานกับเพื่อนที่ถูกชะตาไม่ได้หมายความว่าจะช่วยให้มีอารมณ์ทำงาน แทนที่จะเลือกวิธียุ่งยากแบบนั้น ลองคิดว่า “ลองเริ่มทำก่อนสัก 5 นาที” จะช่วยให้ “ความตั้งใจที่จะทำงาน” เพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่า
คำตอบ : ข้อ 1.เริ่มแบ่งเวลา “เอาแค่ 5 นาทีก่อนก็ได้”
ติดตาม 36 คำถามจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณรับมือกับสารพัดปัญหาตั้งแต่เรื่องจุกจิกเล็กน้อย ไปจนถึงเรื่องใหญ่โตได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องประสาทเสียอีกต่อไปในหนังสือ วิธีตัดสินใจของคนที่ทำงานไม่เคยพลาด
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
วิธี อ่านใจคน ด้วยเทคนิคทางจิตวิทยา
วิธี อ่านใจคน จากบุคลิกท่าทาง ดูคนให้ออกแล้วเราจะเป็นต่อ
รีวิวจากผู้อ่าน หนังสือนิยาย จิตวิทยาพัฒนาตนเอง รวมหนังสือน่าอ่านประจำปี 2018-2019
อย่าปล่อยให้คำพูดทำร้ายจิตใจคนฟัง และทำลายคนพูด
Mindfulness เบื้องหลังความสำเร็จที่องค์กรยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างใช้