สาเหตุที่เป็นอุปสรรคของ “ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริง” มีอยู่หลายอย่าง แต่สรุปได้ว่าในบรรดาสาเหตุต่าง ๆ สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ “การเคี้ยวเอื้อง” ความหมายของ “การเคี้ยวเอื้อง” คือ พฤติกรรมของวัวที่สำรอกหญ้าจากกระเพาะ แต่ “การเคี้ยวเอื้อง” ในที่นี้หมายถึง พฤติกรรมการคิดถึงข้อด้อยหรือความผิดพลาดของตัวเองในอดีตซ้ำไปมา “3 เทคนิคเพื่อเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง” จะช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง ซึ่งเป็นต้นตอทำให้ทักษะการมองโลกตามความเป็นจริงหายไปจากชีวิตของคุณ ! 1. เทคนิคเพิ่มความตระหนักรู้ให้ตัวเอง เทคนิคที่ง่ายที่สุดในการซ่อมแซมการตระหนักรู้ในตัวเองคือ “คำถาม What” ซึ่งหมายความตามชื่อเรียกคือเป็น วิธีใช้คำถาม “อะไร” (What) ในการจัดการกับปัญหาหรือข้อสงสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ผลลัพธ์อย่างชัดเจนสำหรับการคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมองตามความเป็นจริง ขอยกตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาโปรเจ็กต์ที่ทำมาเกิดล้มเหลว คำถาม What “ควรทำ ‘อะไร’ เพื่อควบคุมให้ความล้มเหลวนี้ก่อความเสียหายน้อยที่สุด และสิ่งจำเป็นเพื่อให้สามารถใช้ความล้มเหลวนี้ให้เกิดประสิทธิภาพคือ ‘อะไร’” อาจมีหลายคนที่เห็นตัวอย่างนี้แล้วคิดว่า “ก็เรื่องปกตินี่” เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วคิดว่า“ควรทำอะไรดี” ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วไม่เห็นต้องยกขึ้นมาเป็น “เทคนิคสุดยอด” ให้ดูเป็นเรื่องพิเศษเลย แต่นั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้น เรามักมีแนวโน้มเผลอใช้คำถามว่า “ทำไม” (Why) […]
Tag Archives: รู้จักและเข้าใจตัวเอง
จุดเริ่มต้นของการเกิดปัญหาเป็นเพราะเราไม่เข้าใจกัน เพียงแค่ รู้จักและเข้าใจตัวเอง ให้ได้เสียก่อน แล้วโลกใบนี้จะสงบสุขขึ้นอีกเยอะ ถ้าอยากให้สังคมสงบสุข จึงลงมือทำตั้งแต่วันนี้ มาดูกันว่าคุณ รู้จักและเข้าใจตัวเอง มากน้อยแค่ไหน รู้จักตัวตนที่แท้จริง ต้องเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกันเลย วิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คนบางคนเรียนรู้ผ่านการอ่าน บางคนเรียนรู้ผ่านการฟัง บางคนเรียนรู้ผ่านการกระทำ ยกตัวอย่างเช่น แม่กับลูก สายเลือดเดียวกันแท้ๆ แต่ยังไม่เหมือนกันเลย หากเราเป็นแม่ที่เรียนรู้ผ่านการอ่าน พอเห็นลูกไม่อ่านหนังสือ เราก็ไปต่อว่าลูกว่า “ทำไมไม่อ่าน” ทั้งที่ลูกเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ คราวนี้ลูกก็เลยถามแม่กลับว่า “ทำไมไม่ทำ” ตัวอย่างนี้หมายความว่า แม่ไม่เข้าใจตัวเอง แล้วก็ไม่เข้าใจลูกด้วย หรือเด็กบางคนชอบฟังแต่ไม่ชอบอ่าน เลยเปิดยูทูบฟัง พอทำอย่างนี้ก็ถูกแม่ดุ หาว่าเล่นเน็ต ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เลย เด็กกำลังเรียนรู้ตามที่ตัวเองถนัดต่างหาก ดังนั้นเราจึงไม่สามารถมองว่า “ทำไมคนอื่นไม่เหมือนฉัน ทำไมคิดไม่เหมือนฉัน” เลิกตัดสินคนอื่น เลิกคิดอยากไปแก้ไขคนอื่น เพราะที่จริงแล้วต้องแก้จากตัวเราก่อนด้วยกันทั้งสิ้น เหตุแห่งทุกข์มาจากตัวเราทั้งสิ้น ความทุกข์เป็นปัญหาใหญ่ของมนุษย์มาหลายพันปี ไม่มีใครอยากทุกข์ทรมาน ทุกคนอยากมีความสุข ความสมหวัง พออยากมีความสุขเราก็ออกไปแสวงหานั่น โน่น […]