หลายคนถามกันเข้ามาว่า ถ้าจะเริ่มอ่านงานของ เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ควรเริ่มอ่านจากเล่มไหนก่อน จริงๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนด้วย แต่เพื่อให้คนที่ยังไม่คุ้นเคยกับงานของโทลคีนเข้าสู่จักรวาลของมิดเดิ้ลเอิร์ธได้ง่ายขึ้น แอดนากเลยทำลิสต์แนะนำมาให้ ทั้งนี้ทั้งนั้น แอดไม่ได้บังคับว่าต้องอ่านตามนี้เท่านั้นนะคะ สามารถเลือกอ่านตามความชอบและความสนใจของตัวเองได้เช่นกัน ฮอบบิทเจ.อาร์.อาร์. โทลคีน : เขียนสุดจิต ภิญโญยิ่ง : แปล หากจะเริ่มอ่านงานของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฮอบบิทน่าจะเป็นเล่มที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้น เพราะเดิมทีโทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นเพื่อเล่าให้ลูกๆ ฟังก่อนนอน แต่พอลูกชายของเขาทักเรื่องจุดบกพร่องต่างๆ ในเรื่อง เขาก็เลยเขียนมันออกมาอย่างเป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้น จนกลายเป็นฮอบบิทที่ทุกคนเห็นอย่างในปัจจุบัน และเป็นเล่มที่ไม่ได้แทรกปูมหลังทางประวัติศาสตร์หรือตำนานมิดเดิ้ลเอิร์ธให้ปวดหัวสักเท่าไร ด้วยเรื่องราวการผจญภัยที่สนุกสนานและภาษาที่นับว่าอ่านง่ายที่สุดในบรรดาผลงานเกี่ยวกับมิดเดิ้ลเอิร์ธของโทลคีน ฮอบบิทจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับงานของโทลคีนนัก ฮอบบิทคือเรื่องราวการผจญภัยสุดพิลึกพิลั่น ต้นกำเนิดตำนานมหัศจรรย์ “ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์” ซึ่งเล่าถึงการเดินทาง ครั้งยิ่งใหญ่ของพ่อมดแกนดัล์ฟ คนแคระทั้งสิบสาม และฮอบบิทอีกหนึ่งนาย (บิลโบ แบ๊กกินส์) ซึ่งทำให้ฮอบบิทได้ครอบครองแหวนวงหนึ่งโดยบังเอิญ แหวนที่อาจทำให้เขาได้เป็นผู้ครองพิภพ หรืออาจพันธนาเขาไว้ในความ มืดมนตลอดกาล ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์J. R. […]
Tag Archives: ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์
เมื่อ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกือบจะโยนต้นฉบับหนังสือ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ลงกองไฟ และพวกเราทั้งหลายเกือบไม่ได้อ่านสุดยอดวรรณกรรมเล่มนี้ ถ้าไม่ได้เพื่อนสนิทของคุณปู่โทลคีนห้ามไว้ในวันนั้น วันนี้สำนักพิมพ์แพรวเยาวชนคงไม่ได้ตีพิมพ์หนังสือ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ทั้ง 3 เล่ม รวมถึงงานเล่มอื่นของคุณปู่โทลคีน เช่น ฮอบบิท ตำนานบุตรแห่งฮูริน แน่ๆ เกิดอะไรขึ้นในวันนั้นไปดูกัน กว่าจะที่หนังสือลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ จะได้ตีพิมพ์ โฟรโด้และแซมเกือบไม่ได้ผจญภัยแย่งแหวนกับสมีกอล และต่อสู่เหล่าร้ายร่วมกับพันธมิตร เพราะคุณปู่ เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ของเรา เคยขู่ว่าจะโยนต้นฉบับหนังสือลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ลงกองไฟ แต่ยังโชคดีที่เพื่อนของคุณปู่ คือ คุณปู่จอร์จ เซเยอร์ มาห้ามไว้ได้ทัน! รูปจาก http://firsteditionfantasy.blogspot.com คุณปู่เซเยอร์ คนนี้เป็นใครกันนะ ถึงช่วยชีวิตต้นฉบับหนังสือลอร์ด ออฟ […]
คุณค่าของหนังสือหนึ่งเล่ม ไม่ได้วัดที่ “เงิน” จากการขายดี ขายได้ แต่หนังสือหนึ่งเล่มที่อยู่บนโลกมาถึง 80 ปี คนทุกชาติ ทุกภาษาได้อ่านและพูดถึงในทางที่ดีมาตลอด ก็สะท้อน “คุณค่า” ในงานวรรณกรรมเล่มนั้นได้เป็นอย่างดีดั่งเช่นวรรณกรรมขึ้นหึ้งเรื่อง เดอะฮอบบิท (The Hobbit) ปี 2017 นี้ ฮอบบิทจะมีอายุครบ 80 ปี และนี่คือ 8 ข้อที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน
นอกจากการตั้งชื่อหนังสือให้ติดหูนักอ่านแล้ว การตั้ง ชื่อตัวละคร ให้ติดปากนักอ่านก็เป็นสิ่งที่นักเขียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะใช้ชื่อไหนเพื่อให้นักอ่านรู้สึกว่า นี่แหละ ชื่อเพื่อนรักของฉัน (เพราะนักอ่านบางคนก็รักตัวละครมากจนนำ ชื่อตัวละคร ไปตั้งเป็นชื่อสัตว์เลี้ยง หรือแม้กระทั่งชื่อลูก จึงต้องคิดให้ดีๆ ก่อนจะตั้งชืื่อออกมา) ทำให้บางครั้งการตั้งชื่อตัวละครก็ยากกว่าการตั้งชื่อหนังสือเสียอีก (เสียงนักเขียนประจำสำนักพิมพ์บ่นลอยๆ) กว่าจะออกมาเป็น ชื่อตัวละคร ที่ถูกใจนักเขียน ถูกใจนักอ่านได้ ต้องผ่านมาไม่รู้กว่ากี่ชื่อ เราลองมาดูกันว่า หากตัวละครโปรดของคุณ ใช้ชื่อดั้งเดิมจากผู้เขียน ชื่อของพวกเขาเหล่านี้จะยังเป็นชื่อที่ติดหูติดปากคุณอยู่หรือเปล่านะ \ ดิกเกนส์กับปกหนังสือ อะ คริสต์มาสแครอล เวอร์ชั่นแรก By Jeremiah Gurney – Heritage Auction Gallery, Public Domain ถึงแม้วรรณกรรมเรื่อง อะ คริสต์มาส แครอล (A Christmas Carol) จะดำเนินเรื่องด้วยตัวละครหลัก เอเบเนเซอร์ สครูจ (Ebenezer Scrooge) นายธนาคารหน้าเลือดที่ได้รับบทเรียนจากภูติแห่งคริสต์มาส แต่ตัวละครอย่าง […]