คำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะรู้สึกอ่อนไหวกับอารมณ์ ความรู้สึกและคำพูดมากกว่าปกติ บางครั้งการชวนคุยหรือพูดให้กำลังใจด้วยความหวังดี อาจทำให้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แย่ลงแบบไม่ได้ตั้งใจ แม้กระทั่งคำพูดที่คิดมาอย่างดีแล้วว่าจะต้องช่วยได้ เช่น สู้ๆ นะ เป็นกำลังใจให้, เราเข้าใจเธอนะ ฯลฯ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงได้

 

มาดูกันว่าคำพูดแบบไหนที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบ้าง

 

เศร้านานเกินไปแล้ว เมื่อไหร่จะดีขึ้นเสียที”

คนซึมเศร้าย่อมมีอารมณ์ที่อ่อนไหวมากกว่าคนปกติ ใช่ว่าพวกเขาจะไม่อยากดีขึ้นเสียเมื่อไหร่ เพียงแต่ว่าพวกเขาไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงดีขึ้น การพูดแบบนี้เหมือนยิ่งไปกดดันให้เลิกเศร้าระคนสงสาร ความสงสารยิ่งเป็นสิ่งต้องห้ามของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่า ตัวเองด้อยค่า รันทด จนคนอื่นต้องมาสงสาร

เป็นซึมเศร้าจริงเหรอ คิดไปเองหรือเปล่า”

ในกรณีที่ยังไม่ได้ไปพบจิตแพทย์ คำพูดนี้อาจทำให้พวกเขาพลาดโอกาสในการรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะคิดว่าตัวเองคิดไปเอง ส่วนถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วแต่ยังมาเจอคำพูดแบบนี้อีก คนฟังก็ยิ่งเสียกำลังใจ ขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการรักษาและคิดว่าไม่มีใครให้ความสำคัญต่อความเจ็บป่วยของเขาเลย

หัดคิดบวกบ้างสิ จะได้เลิกเศร้า

โรคซึมเศร้าไม่ได้เปลี่ยนทัศนคติแล้วหายทันที ต่อให้พวกเขาพยายามคิดบวกมากเท่าไร แต่อาการซึมเศร้าก็กลับมาอยู่ดี เพราะมันคือ “โรค” ที่ต้องรักษาเยียวยาอย่างถูกต้องจากจิตแพทย์ ต้องเป็นขั้นเป็นตอนและใช้เวลา จะให้หายทันทีปุบปับไม่ได้

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ไปเข้าวัดซะบ้าง จิตใจจะได้สงบๆ”

ต้องอธิบายให้ฟังก่อนว่า การเข้าวัดแบบเข้าไปทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมแบบปกติไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสงบลง หากจิตใจของเขายังคงพะวง คิดนู่นคิดนี่ไปเรื่อย กลับมาก็ยังคงเป็นแบบเดิมอยู่ การเข้าวัดต้องเกิดจากความสมัครใจของผู้ป่วยเอง และเปิดใจยอมรับเพื่อให้ธรรมะเยียวยาจิตใจ

 

การยอมรับในที่นี้คือยอมรับว่า “ความทุกข์มีจริง” ความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ความสุขก็เช่นกัน ไม่มีใครมีแต่สุขไม่มีทุกข์ หรือมีแต่ความทุกข์ไม่มีความสุข เมื่อยอมรับได้ว่าทุกข์มีจริง เขาจะเข้าใจและหันกลับไปมองเรื่องราวที่ผ่านมา บางทีการที่ได้ยอมรับความจริง อาจทำให้เขามีความสุขมากขึ้นก็ได้

 

อย่ามัวแต่เก็บตัว ออกไปเจอเพื่อนๆ บ้าง”

คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการหดหู่ เก็บตัว ไม่อยากออกไปเจอหน้าใคร แต่ไม่ได้หมายความว่าการชักชวน หรือลากเขาออกไปสังสรรค์กับคนอื่นๆ แล้วจะทำให้เขาดีขึ้นได้ เผลอๆ จะยิ่งทำให้อาการกลัวผู้อื่นยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น

 

 

ข้อมูลจากwellnessbin.com | hellogiggles.com | Moody Twenties

และหนังสือ เรื่องเล่าจากยอดภูเขาน้ำแข็ง


บทความอื่นๆ

10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

6 วิธี เยียวยาโรคซึมเศร้า คำแนะนำจากอดีตผู้ป่วยที่รับมือโรคซึมเศร้านานกว่า 7 ปี

รับมือ โรคซึมเศร้าหลังคลอด โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

รู้จักโรคซึมเศร้า สาเหตุ อาการและการรักษา โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

9 บุคคลดังระดับโลกที่คุณอาจคิดไม่ถึงว่าพวกเขาก็เป็น โรคซึมเศร้า

 

 

 

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า