โรคไบโพลาร์ หรือที่เรียกกันว่าโรคอารมณ์สองขั้ว มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็แสดงอาการแตกต่างกันไป บางคนอาจมีอาการซึมเศร้า ประสาทหลอน มีอาการระแวงและก้าวร้าว
โรคไบโพลาร์ คืออะไร
Bipolar Disorder คือโรคทางจิตเวช ประกอบด้วยความเจ็บป่วย 2 ลักษณะสลับกันไป
ลักษณะที่ 1 เรียกว่า ระยะซึมเศร้า ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเต็มรูปแบบ
ลักษณะที่ 2 เรียกว่า ระยะแมเนีย ผู้ป่วยมีกลุ่มอาการแมเนียตามแบบฉบับ
คือกลุ่มผู้ป่วยที่รู้จักกันมากที่สุดในบรรดากลุ่มโรคไบโพลาร์ ประกอบด้วย 2 ระยะที่กล่าวถึงด้านบนสลับกันไปมา ในตอนเริ่มต้นของไบโพลาร์-วัน ผู้ป่วยจะมีอาการนำแตกต่างกัน ที่พบบ่อยๆ จะมีด้วยกัน 3 แบบ
ไบโพลาร์-วันแบบที่ 1 จะมีอาการซึมเศร้าเล็กน้อย ตามด้วยอาการง่วงนอนและนอนหลับมากเกือบทั้งวันทั้งคืน อาการนี้จะกินเวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ก่อนที่จะเกิดกลุ่มอาการแมเนียเต็มรูปแบบ แล้วกลายเป็นไบโพลาร์-วัน
ไบโพลาร์-วันแบบที่ 2 ผู้ป่วยเริ่มต้นด้วยกลุ่มอาการแมเนียเต็มรูปแบบทันทีและรุนแรง หลายคนมีอาการเกือบจะเหมือนผู้ป่วยโรคจิตเภทคือมีประสาทหลอน อาจมีทั้งภาพและเสียงที่คนอื่นมองไม่เห็น หรือไม่ได้ยิน ตามด้วยอาการหวาดระแวงและก้าวร้าว
ไบโพลาร์-วันแบบที่ 3 เริ่มต้นด้วยโรคซึมเศร้าเต็มรูปแบบอยู่สัก 2-4 รอบ และอาจจะใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มมีกลุ่มอาการแมเนียรอบที่ 1 แล้วจึงกลายเป็นไบโพลาร์-วัน
อาการซึมเศร้า
หมายถึง Depression เป็นอารมณ์เศร้าระดับอ่อนๆ หรือรุนแรงที่พบได้ในคนทั่วไป แต่ไม่ถึงขนาดเป็นโรคซึมเศร้า
คิดเร็ว คิดสารพัด
เช่น มีโครงการจะทำสิ่งต่างๆ มากมาย หรือมีแผนการจะทำสิ่งหนึ่งซึ่งดูจะมากเกินปกติของผู้คน หรือเกินกว่าอุปนิสัยที่เคยเป็นมาก่อน
พูดเร็ว พูดมาก
เช่น พูดเรื่องหนึ่งไม่ทันจบก็โยงไปอีกเรื่องหนึ่งซึ่งอาจจะเกี่ยวกันหรือไม่เกี่ยวกัน แล้วพันไปที่เรื่องที่สาม สี่ ห้า และหก หรือกลับไปกลับมาได้อีก หากนั่งฟังนานพอจะพบว่าเขาพูดรู้เรื่องแต่เรื่องเยอะไปจนถึงเยอะมาก
ทำเร็ว ทำเยอะ
เช่น พูดปุ๊บทำปั๊บ อยากเปิดร้านใหม่ก็เปิด อยากกู้เงิน อยากออกรถใหม่ก็ออก สร้างงานหลายชิ้นขึ้นมาพร้อมๆ กัน งานแต่ละชิ้นก็ดูมีเหตุผลอยู่บ้าง แต่มันเยอะไปจนถึงเยอะมาก ในผู้หยิงอาจจะพบอาการแต่งหน้าสวยกว่าทุกครั้งมากเกินไป ไปจนถึงใช้ของสิ้นเปลืองผิดปกติ เช่น เดินช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าทุกวัน หรือนั่งช็อปปิ้งออนไลน์ไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นแจกเงินพี่น้องหรือคนที่ไม่รู้จัก
ลักษณะพูดเร็วทำเร็วนี้ บางทีก็มากมายจนเข้าใกล้เสียสติ เช่น แต่งหน้าทาปาก แต่งตัวไม่เหมาะสมกับกาลเทศะอย่างมาก ไปจนถึงมีกิริยาที่ดูเว่อร์เสียจนไม่เหมาะสม เช่น เดินทักทายคนอื่นไปทั่วทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกัน ทั้งที่ปกติไม่ได้เป็นคนเช่นนั้น
สาเหตุของการเกิดโรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้มากกว่าโรคซึมเศร้าเสียอีก เมื่อศึกษาในแฝดเหมือน พบว่าคู่แฝดมีโอกาสป่วยด้วยโรคไบโพลาร์เหมือนกันมากกว่าที่จะป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเหมือนกัน และพบว่า คู่แฝดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีโอกาสป่วยด้วยโรคไบโพลาร์น้อยกว่าที่คู่แฝดของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะป่วยด้วยโรคซึมเศร้า หลักฐานทั้งหมดนี้สอดคล้องกับที่พบในคนทั่วไป นั่นคือ โรคไบโพลาร์ส่งผ่านโรคไปสู่รุ่นต่อไปได้มากกว่า
รวมไปถึงตัวกระตุ้นภายนอกก็มีส่วนทำให้เป็นโรคไบโพลาร์ได้ เช่น ยาเสพติด ยาลดความอ้วน โรคติดเชื้อ รวมทั้งเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในชีวิต หลายครั้งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยดูมีชีวิตชีวา มีจริตจะก้าน มีความเซ็กซี่ มีเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้ามมากกว่า มีโอกาสหาคู่ได้มากกว่า และมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งกว่า
ข้อมูลจากหนังสือโรคไบโพลาร์
เขียนโดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
คำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
6 วิธี เยียวยาโรคซึมเศร้า คำแนะนำจากอดีตผู้ป่วยที่รับมือโรคซึมเศร้านานกว่า 7 ปี
รู้จักโรคซึมเศร้า สาเหตุ อาการและการรักษา โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
Pingback: ทำอย่างไรเมื่อตัวเอง ครอบครัวหรือคนใกล้ตัวเป็น โรคไบโพลาร์
Pingback: นั่งนาน = ตายเร็ว! ผลกระทบจากการนั่งทำงานนานเกินไป