สมุนไพรลดเบาหวาน ที่คนเป็นเบาหวานต้องรู้และเข้าใจ

 

การแพทย์ทางเสริมและทางเลือก หรือการแพทย์แบบผสมผสานคือการรวมหลักการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน และทางเลือกบางอย่างที่ได้รับการพิสูจน์ว่าปลอดภัยและได้ผลมาใช้ร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ ผู้ป่วยเบาหวานควรแจ้งแพทย์ผู้ดูแลให้ทราบทุกครั้งว่าได้รับการรักษาแบบใดมา หรือเสริมวิตามินและ สมุนไพรลดเบาหวาน อะไรมาบ้าง เพราะอาจจะไปตีกันระหว่างสมุนไพรและยาเบาหวาน

 

 

ก่อนเริ่มใช้ สมุนไพรลดเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อประเมินว่ามีปัจจัยเสริมหรือขัดแย้งกันในการดูแลโรคเบาหวานหรือไม่ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่แล้วก็ไม่ควรละเลยการรักษาแบบแผนปัจจุบัน คือการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย  และใช้ยาตามแพทย์สั่ง

 

สมุนไพรลดเบาหวานที่คนเป็นเบาหวานนิยม

 

หญ้าหวาน

ภาพจาก medthai.com

หญ้าหวานเป็นพืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับทานตะวัน โดยหญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองในอเมริกาใต้และอเมริกากลาง ขาวอินเดียเผ่ากัวรานี (Guarani) ในปารากวัยและบราซิลใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานมานานกว่าหลายร้อยปีแล้ว

 

ในปี ค.ศ. 1931 นักเคมีชาวฝรั่งเศสสองคนได้สกัดสารสตีวีโอไซด์ (Steovoside) ออกจากหญ้าหวานได้สำเร็จ และเมื่อตรวจสอบก็พบว่าสารนี้ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-400 เท่า

 

ในปี ค.ศ. 2009 มีรายการวิจัยเพิ่มเติมว่าไม่พว่าสารสกัดจากหญ้าหวานมีพิษในการทดลองในสัตว์

 

หญ้าหวานนอกจากไม่ให้พลังงานและไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว การวิจัยยังพบว่าช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของพลัคในปาก ต่อการสารก่อมะเร็ง ช่วยควบคุมน้ำหนักและลดความดันโลหิตได้

 

ปัจจุบันหญ้าหวานได้รับการยอมรับจากอย.ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทวีปอเมริกาใต้ และโดยเฉพาะในเอเชีย ญี่ปุ่นใช้หญ้าหวานมานานแล้วในอาหารดอง อาหารแห้ง อาหารทะเลแห้ง ซีอิ๊ว น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และหมากฝรั่ง และได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยาของไทยว่าปลอดภัยต่อการบริโภคแล้ว

 

 

สมุนไรลดเบาหวาน

โสม

งานวิจัยในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าโสมทุกสายพันธ์ให้ผลลัพธ์เหมือนๆ กัน แม้ว่าผลอาจจะไม่ได้ดีมาก งานวิจัยรายงานใน ปี ค.ศ. 2006 เปรียบเทียบโสมเกาหลี (Panax Ginseng) กับโสมหลอกพบว่า แม้ผู้เป็นเบาหวานที่มีการควบคุมที่ดีก็ยังไม่ได้ช่วยลดค่าน้ำตาลเฉลี่ย (HbA1c) นัก แต่โสดมเกาหลีช่วยให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินดีขึ้นได้

 

ส่วนใหญ่งานวิจัยในเบาหวานมักจะใช้โสมอเมริกัน ซึ่งให้ผลในการลดระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า หลังอาหาร และระดับน้ำตาลเฉลี่ย ข้อแนะนำคือ ยังคงต้องรอดูผลงานวิจัยระยะยาวและขนาดงานวิจัยที่ใหญ่ขึ้น โดยรายงานในปี ค.ศ. 2014 ยังคงระบุว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันอย่างชัดเจนว่าโสมทั้งสองชนิดช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้จริง

 

ข้อควรระวังคือ เลี่ยงการใช้โสมถ้าต้องใช้ยาแอสไพรินและวาร์ฟาริน เพราะโสมจะมีฤทธิ์ลดการทำงานของยาเหล่านั้น

 

 

อินทนิลน้ำ

ภาพจาก medthai.com

เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันและความดันโลหิตสูงได้ ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบ เปลือก ราก และเมล็ด

 

 

สมุนไพรอื่นๆ ที่ให้ประโยชน์

ชาเขียว ขิง มะระ กิงโกะ บิลเบอร์รี่ หอม กระเทียม ใยอาหารจากบุก ผักเซี่ยงดาหรือเซ่งดา และลูกซัด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือกได้แต่ต้องใช้ในปริมาณมาก

 

สำหรับผักเซี่ยงดาเป็นสมุนไพรที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ มีใยอาหารสูง มีสารซาโปนิน ผักชนิดนี้ช่วยชะลอการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต ใยอาหารและเพิ่มความไวต่ออินซูลิน มักใช้ในรูปชาหรือเป็นแคปซูลในปริมาณ 5 – 100 มิลลิกรัม

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นคือมีแก๊ส ท้องอืดและท้องเสีย และอาจมีผลต่อตีกับยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดวาร์ฟาริน

 

 

 

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า