นั่งนาน = ตายเร็ว! ผลกระทบจากการนั่งทำงานนานเกินไป

รู้ไหมว่าการ นั่งนาน ไม่ลุกจากเก้าอี้ติดต่อกันหลายชั่วโมงส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายของเราอย่างมาก เห็นได้ชัดที่สุดก็คืออาการปวดหลัง ปวดบ่า ที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องพบเจอ

มาดูกันว่าการ นั่งนาน มีผลเสียกับเราอย่างไรบ้าง

 

นั่งนาน = ตายเร็ว

ทำไมแค่การนั่งธรรมดาถึงมีโอกาสตายสูงขึ้น

คำตอบคือ การนั่งเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2.5 ชั่วโมง โดยไม่เคลื่อนไหวทำให้กิจกรรมทางร่างกายลดลง ระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายช้าลง เกิดการสะสมของไขมันและความอ้วนตามมา จนนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขข้ออักเสบ และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวพันกับการมีน้ำหนักเกินปกติ

นอกจากการนั่งนานๆ แล้ว “การนั่งผิดท่า” ก็ส่งผลกระทบมากมายต่อชีวิตของเราได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ทำให้เกิดการปวดหลังส่วนล่าง อาการปวดร้าว หรืออาการชาลงขา

 

ผลกระทบจากการนั่ง

แม้กล้ามเนื้อบริเวณหลังจะเป็นกล้ามเนื้อที่มีความทนทานสูง แต่กล้ามเนื้อส่วนนี้ก็ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้นานเกิน 2 ชั่วโมง ถ้าเกินไปจากนี้ ความสามารถในการคงท่าที่ถูกต้องจะลดลงทันที เพราะกล้ามเนื้อล้า หลังจากนั้นข้อต่อ กระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังจะถูกแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงให้ยู่เข้าหากันเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยพยุง และเกิดผลกระทบตามมาหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

 

หมอนรองกระดูกปลิ้น

เมื่อหมอนรองกระดูกถูกแรงกระทำมากๆ หรือเคลื่อนไหวผิดท่าจนเกิดแรงกระทำรุนแรงผิดทิศทางจนหมอนรองกระดูกปลิ้นตามแนวกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทวางตัวในแนวยาวชิดแนวกระดูกสันหลังลงไปยังขา เมื่อหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาก็จะไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าว ชาลงขาจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

 

ขอบกระดูกสึก

นอกจากนี้แรงกระทำที่มากจะทำให้ส่วนใยที่เกาะยึดกับขอบกระดูกถูกดึงออก ทำให้ขอบกระดูกเกิดการผุกร่อน ร่างกายจึงซ่อมแซมโดยการส่งแคลเซียมมาพอกทับ ทำให้ขอบกระดูกขรุขระและอาจเกิดการเสียดสีกันเองจนเกิดอาการเจ็บปวด

 

หมอนรองกระดูกบางลง

เมื่อส่วนของหมอนรองกระดูกที่เป็นใยถูกดึงทุกวันก็จะปริขาด ความสามารถในการคงให้หมอนรองกระดูกฟูเหมือนเดิมก็น้อยลง ของเหลวจะซึมออกตามกลไกธรรมชาติ หากมีแรงกระทำหนักมาก แปลว่าของเหลวไหลออกมาก พอเรานอนมันอาจจะดูดซึมกลับมาไม่ทันทำให้ความหนาของหมอนรองกระดูกไม่เท่าเดิม

 

ท่านั่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ

ในการนั่งยังมีอะไรซ่อนเร้นอีกมากมาย และท่านั่งที่เราและคนส่วนใหญ่เคยชินจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอะไรตามมาบ้าง

 

ตัวห่อชะโงกศีรษะเข้าหาจอคอมพิวเตอร์

ปัญหาที่ตามมา : คอยื่น คางยื่น ปวดขากรรไกร กระทบการหายใจ

ท่านั่งแบบนี้มักจะเกิดจากจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำเกินไปหรือตัวคนสูงกว่าจอคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กที่เราต้องก้มคอมองจอ รวมทั้งระยะห่างของจอที่อยู่ไกลจากระยะสายตาเกินไปจนต้องชะโงกศีรษะเข้าจอ หรือขนาดตัวอักษรเล็กเกินไปทำให้มองไม่เห็น เป็นต้น

การนั่งท่านี้นานๆ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า และไหล่ ต้องออกแรงพยุงน้ำหนักของกะโหลกศีรษะที่มีน้ำหนักประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวของคนคนนั้น เมื่อตำแหน่งของศีรษะเลื่อนออกไปจากรากฐานรองรับบริเวณกึ่งกลางลำตัว ร่างกายจึงต้องต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลกตลอดเวลา

นอกจากนี้ยังกระทบกับการหายใจด้วย หากนั่งหลังค่อมห่อตัว กระดูกซี่โครงจะถูกกด ทำให้ไม่สามารถอ้ายกขึ้นได้ ตามปกติพอถูกกดนานๆ จะมีอาการเหมือนเป็นสนิม ไม่สามารถอ้าได้เต็มที่ คนคนนั้นก็จะมีกรงหุ้มอวัยวะที่แคบลงและแข็ง ทำให้อวัยวะข้างในถูกจำกัด ปริมาตรของปอดที่เคยกว้างก็แคบลง หากทิ้งไว้ในระยะยาวจะมีปริมาตรของการหายใจที่ลดลง หรือที่เรารู้สึกว่าหายใจได้ไม่เต็มปอดนั่นเอง

การหายใจได้ไม่เต็มปอดจะทำให้เราต้องหายใจถี่ขึ้น ต้องออกแรงการทำงานของกล้ามเนื้อมากขึ้น อวัยวะที่ทำงานสัมพันธ์กันเช่นหัวใจก็มีแนวโน้มทำงานหนักขึ้น แล้วทำไมเราต้องใช้ชีวิตอย่างนั้น การป้องกันปัญหาง่ายๆ ที่ทุกคนทำกันได้ก็คือ ลุกขึ้นยืนทุก 2 ชั่วโมง ยืดเหยียด และหายใจเข้าให้เต็มปอด

 

ข้อมูลจากหนังสือ นั่งนาน = ตายเร็ว

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

วิธีสังเกตอาการ สาเหตุของ โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว

นอนไม่หลับทำไงดี ? พบ 5 เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

รู้จักโรคซึมเศร้า สาเหตุ อาการและการรักษา โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

หมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) โรคยอดฮิตของเหล่ามนุษย์เงินเดือน

ท่าบริหารร่างกายสำหรับคนที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม : แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า