9 บุคคลดังระดับโลกที่คุณอาจคิดไม่ถึงว่าพวกเขาก็เป็น ‘โรคซึมเศร้า’

การเป็นผู้ป่วย โรคซึมเศร้า แบบไบโพลาร์ ต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะอารมณ์สุดโต่งเพราะสารเคมีในสมองแปรปรวน มันอาจไม่ใช่เรื่องดีของชีวิตเท่าไหร่นัก อีกมุมหนึ่งกลับทำให้รู้ว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้สมบูรณ์แบบ 100%  ไม่มีคนใดในโลกเป็นคนสมบูรณ์แบบ แต่คนไม่สมบูรณ์แบบสามารถทำสิ่งน่าทึ่งและประสบความสำเร็จในชีวิตได้

 

เช่นเดียวกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า และผู้ป่วยไบโพลาร์คนดังเหล่านี้ พวกเขาสร้างสรรค์ผลงานมีค่าขึ้นมาประดับโลกมากมาย แม้จะได้ชื่อว่าผู้ป่วยก็ตาม

เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo Da Vinci)

Portrait of Leonardo Da Vinci

By Francesco Melzi – Web Gallery of Art: Public Domain

 ศิลปินอัจฉริยะยุคเรอเนสซองซ์ เจ้าของภาพ “โมนาลิซา (Mona Lisa)” และ “พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper)” อันโด่งดังคนนี้ เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder  หรือ ADHA)  จากลักษณะนิสัยไม่ค่อยมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ มีผลงานศิลปะจำนวนมากของเขาถูกเริ่มต้นและทิ้งกลางคัน แล้วยังมีอาการของโรคความบกพร่องในการอ่านหนังสือ (Dyslexia) เขาจึงเขียนตัวหนังสือกลับด้านเหมือนเอาตัวหนังสือไปส่องกระจก

 

Mona Lisa or La Gioconda (1503–05/07)‍—‌Louvre, Paris, France

 

The Last Supper (1498)‍—‌Convent of Sta. Maria delle Grazie, Milan, Italy

 

และยังมีวิเคราะห์อีกว่า ดาวินชีเป็นไพโบลาร์แบบอาการแมเนียเป็นหลัก เลยชอบคิดและทำอะไรแหกกฎเกณฑ์ไม่เหมือนชาวบ้าน เป็นจอมโปรเจกต์ มีโครงการมากมายผุดขึ้นเต็มหัวสมอง เวลาเขาจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะตะลุยและจมอยู่กับมัน แต่พอไม่เอาแล้วก็ทิ้งไปเลยแบบไม่สนใจไยดี

 

จินตนาการของเขาพวยพุ่งอยู่เสมอและจินตนาการเหล่านั้นเป็นสิ่งล้ำค่ามาก เขาได้สร้างสรรค์ภาพวาดจากความคิดลงกระดาษ บางสิ่งบางอย่างเป็นไปไม่ได้ในโลกยุคนั้น กลายเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกในยุคต่อๆ มา อย่างพาหนะที่ทำให้คนบินอยู่บนฟ้าได้เหมือนนก เรือดำน้ำที่ช่วยให้คนสามารถลงไปอยู่ใต้ท้องทะเลเหมือนปลา

 

วินเซนต์ ฟาน ก็อก (Vincent Van Gogh)


Self-Portrait, 1887, Art Institute of Chicago
By Vincent van Gogh – mwF3N6F_RfJ4_w at Google Cultural Institute maximum zoom level, Public Domain

เจ้าของภาพโด่งดัง “ราตรีประดับดาว (The Starry Night)” 

The Starry Night, June 1889. Museum of Modern Art, New York

By Vincent van Gogh – bgEuwDxel93-Pg at Google Cultural Institute, zoom level maximum, Public Domain

 

เรื่องราวชีวิตของเขาเล่าผ่านจดหมายที่เขียนถึง ‘ธีโอ (Theo)’ น้องชาย มันบ่งบอกอาการของผู้ป่วยไบโพลาร์จากความผิดหวังในอาชีพจิตรกร เพราะภาพที่วาดไว้นับพันชิ้น ตลอดชีวิตของเขาขายได้ภาพเดียว ภาวะอารมณ์รุนแรงพลุ่งพล่านสลับกับซึมเศร้าหดหู่อย่างหนัก ทำให้ต้องเข้าบำบัดอาการทางจิตในโรงพยาบาล จนสุดท้ายจบลงด้วยการฆ่าตัวตายเมื่ออายุแค่ 37 ปี แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิต ผลงานของเขากลายเป็นสมบัติล้ำค่าราคาสูงลิบลิ่วในโลกศิลปะ

ซ้าย – ธีโอ น้องชาย  ขวา –  วินเซนต์ในวัยหนุ่ม

By Jacobus Marinus Wilhelmus de Louw (1823–1907) – Memory of the Netherlands, From Vincent van Gogh: letters, art, and context of the Van Gogh Museum, Public Domain

 

ส่วนหนึ่งของจดหมายที่วินเซนต์ ฟาน ก็อก เขียนถึงน้องชาย

By Vincent van Gogh – Memory of the Netherlands, From Vincent van Gogh: letters, art, and context of the Van Gogh Museum, Public Domain

 

 

ปอล โกแกง (Paul Gauguin)

Paul Gauguin, photography, ca. 1891

By Louis-Maurice Boutet de Monvel – Museum page, Public Domain

 

เพื่อนสนิทของวินเซนต์อีกคน เป็นศิลปินดังผู้ผิดหวังกับอาชีพจิตรกรในขณะยังมีชีวิตอยู่ คือ ปอล โกแกง (Paul Gauguin) มีประวัติเป็น โรคซึมเศร้า และมีภาวะเครียดอย่างหนัก จนถึงขนาดพยายามกินยาฆ่าตัวตาย สุดท้ายโกแกงตัดสินใจย้ายตัวเองไปอยู่บนเกาะตาฮิติ ซึ่งเป็นที่ที่เขาสร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนมากมาย และเป็นผลงานสร้างชื่อให้เขาหลังจากจากโลกนี้ไป

ผลงานส่วนหนึ่งของโกแกง

The Market Gardens of Vaugirard, 1879, Smith College Museum of Art

By Paul Gauguin – The Yorck Project: 10.000 Meisterwerke der Malerei. DVD-ROM, 2002. ISBN 3936122202. Distributed by DIRECTMEDIA Publishing GmbH., Public Domain

 

เอ็ดเวิร์ด มุงก์ (Edvard Munch)

ภาพวาด The Scream อันโด่ง ผลงานของเอ็ดเวิร์ด มุงก์

Left – The Scream (1893)

Right – By Anders Beer Wilse – Galleri Nor Tilvekstnummer: NF.WA 02037 Internnr: NBR9407:00965, Public Domain,

 

“หวีด (The Scream)” ภาพชายร่างผอม ใบหน้าบิดเบี้ยวสื่อถึงความสับสนและเจ็บปวดในจิตใจ มักถูกนำมาใช้เวลาเล่าถึงโรคทางจิตเวชอยู่เสมอ เรียกว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ ภาพนี้วาดโดย เอ็ดเวิร์ด มุงก์ (Edvard Munch) ศิลปินผู้วาดภาพเป็นผู้ป่วยซึมเศร้า ตลอดชีวิตของเขาพบเจอกับความสูญเสียมาตลอด เสียแม่ตอนอายุ 5 ขวบ และเสียพี่สาวตอนอายุ 14  แถมสุขภาพตัวเองก็ไม่ค่อยดี เขาเลยจมอยู่กับความเครียด หดหู่มาทั้งชีวิต จึงถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ออกมาทางภาพวาด

 

ชาร์ลส์ เอ็ม. ชูล์ซ (Charles M. Schulz)

Charles M. Schulz ผู้ให้กำเนิดสนูปปี้หมาน้อยที่คนทั่วโลกหลงรัก

By Roger Higgins, World Telegram staff photographer – Library of Congress. New York World-Telegram & Sun Collection

ชาร์ลส์ เอ็ม. ชูล์ซ (Charles M. Schulz) ผู้ให้กำเนิดตัวการ์ตูนเจ้าหมาสนูปปี้และผองเพื่อนชาร์ลี บราวน์ เป็นอีกคนที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้ามาตลอดชีวิต ใครจะไปคิดว่าตัวการ์ตูนน่ารักประทับใจคนทั้งโลกนั้นถูกสร้างสรรค์จากผู้ป่วยคนหนึ่ง เขาเคยเอ่ยถึงอาการของโรคว่า “เวลาดำดิ่งอยู่ในภาวะซึมเศร้า มันไม่รู้สึกอยากทำอะไรเลยสักอย่าง อยากก้มหน้าซบกับท่อนแขนของตัวเองอยู่อย่างนั้นอย่างเดียว”

ชาร์ลี บราวน์และสนูปปี้

 

 

 

คนเก่งๆ บนโลกอีกหลายคน เอ่ยชื่อแล้วอาจคาดไม่ถึงว่าพวกเขามีอีกมุมหนึ่งของชีวิตจมอยู่กับความเศร้าซึม และต้องทนทุกข์ทรมานกับอารมณ์อันแกว่งไกวสุดขั้ว

 

เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)

เบโธเฟน

Portrait by Joseph Karl Stieler, 1820

คีตกวีอัจฉริยะ เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) เป็นผู้ป่วยไบโพลาร์ มีภาวะแมเนียและซึมเศร้ารุนแรง แถมดด้วยอาการประสาทหลอน เขาใช้อารมณ์สุดขั้วเหล่านี้มาเป็นแรงผลักดันให้เกิดจินตนาการอันบรรเจิด สร้างสรรรค์เป็นผลงานเพลงมากมาย

ตัวอย่าง ผลงานเพลงชื่อดังจากเบโธเฟน

 

  Symphony No. 5, Op. 67 (1st movement)

 

Für Elise

 

 

เวอร์จิเนีย วูลฟ์ (Virginia Woolf)

นักเขียนเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีคนวิเคราะห์ว่าเสี่ยงต่อโรคจิตเวชสูง เช่น เวอร์จิเนีย วูลฟ์ (Virginia Woolf) เรื่องราวของนักเขียนคนนี้ถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์เรื่อง ลิขิตชีวิตเหนือกาลเวลา (The Hours) เธอป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคจิตเวช เธอมีอาการสติแตกครั้งแรกตอนอายุ 13 เพราะสูญเสียแม่ มีคนบอกว่าเพราะอารมณ์แตกต่างทั้งสองขั้วจากโรคนี้ งานเขียนของเธอจึงเปี่ยมด้วยอารมณ์บ้าคลั่งและหดหู่สุดขั้ว เธอเป็นอีกคนหนึ่งที่จบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย

Virginia Woolf in 1902; photograph by George Charles Beresford

 

ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง ลิขิตชีวิตเหนือกาลเวลา (The Hours) โดยมี  นิโคล คิดแมน (Nicole Kidman) แสดงเป็น เวอร์จิเนีย วูลฟ์

 

งานชิ้นสำคัญๆ ของวูล์ฟก็ได้แก่นวนิยาย “Mrs Dalloway” (ค.ศ. 1925), “To the Lighthouse” (ค.ศ. 1927) และ “Orlando: A Biography” (ค.ศ. 1928) และหนังสือ “A Room of One’s Own” (ค.ศ. 1929) ที่มีประโยคที่เป็นที่รู้จักว่า “ผู้หญิงต้องมีเงินและห้องที่เป็นของตนเองถ้าจะเขียนนวนิยาย” (“A woman must have money and a room of her own if she is to write fiction.”)

 

  

   

 

อับราฮัม ลิงคอล์น (Abraham Lincoln)

นอกจากนักเขียน ศิลปินแล้ว  แม้แต่ผู้นำยิ่งใหญ่ของโลกบางคนก็ต้องต่อสู้กับโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์มาตลอดชีวิต อย่าง อับราฮัม ลิงคอล์น (Abraham Lincoln) อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เคยตกอยู่ในภาวะซึมเศร้ารุนแรงจนมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เขาเขียนจดหมายเล่าถึงตัวเองขณะดำดิ่งอยู่ในห้วงของอารมณ์แห่งความเศร้าและความหดหู่ว่า “ตอนนี้ฉันกลายเป็นคนน่าสังเวชที่สุด”

 

President Abraham Lincoln in November 1863

By Alexander Gardner – [1], Public Domain,

 

วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill)

อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ในภาวะแมเนีย เขาจะทำงานอย่างบ้าคลั่งไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่หลับไม่นอน แต่เมื่อไหร่ที่ดิ่งสู่ภาวะซึมเศร้าจะหดหู่สุดขีด อยากฆ่าตัวตาย เขาเคยเอ่ยถึงความคิดอยากฆ่าตัวตายว่า ทำให้แทบไม่กล้ายืนบนชานชาลารถไฟหรือบนดาดฟ้าเรือ เพราะกลัวตัวเองอาจจะกระโจนลงไปข้างล่าง  โดยภาวะซึมเศร้าสร้างความทุกข์ให้เชอร์ชิลล์  เขาเปรียนอาการซึมเศร้าของเหมือน ‘หมาสีดำ’ จนถึงกับตั้งชื่อตัวเองในช่วงอารมณ์นั้นว่า “ไอ้หมาดำผู้เศร้าซึม (Black Dog of Depression)”

 Winston Churchill in the Canadian Parliament, December 1941 by Yousuf Karsh.

 

I had a black dog, his name was depression

เรื่องภาพสร้างสรรค์โดย แมธทิว จอห์นสโตน (Matthew Johnstone) ผู้ที่อยู่กับโรคซึมเศร้ามานานกว่า10 ปี  จนกระทั่งยอมรับและเรียนรู้ที่จะรักษาและอยู่ร่วมกับ ‘หมาดำ’

 

 

ชีวิตของคนดังเหล่านี้ชวนให้คิดว่า อาการผิดปกติของโรคทางจิตเวชส่งผลให้พวกเขากลายเป็นนักคิด นักสร้างสรรค์มากกว่าคนปกติทั่วไปหรือเปล่า ในทางกลับกัน การเป็นนักสร้างสรรค์ทำให้เสี่ยงต่อโรคจิตเวชง่ายขึ้นหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ทำไมมันมีส่วนเกี่ยวข้องกัน

 

[su_quote] มีคนศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังพบว่า พวกนักสร้างสรรค์ ไม่ว่าครีเอทีฟ ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักเต้น นักเขียน ช่างภาพ มักมีความเข้มขนของอารมณ์ต่างๆ มากกว่าคนทั่วไป เลยอ่อนไหวกับสิ่งที่มากระทบจิตใจได้ง่ายและรุนแรง จึงเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์มากกว่าปกติ กลับกัน อาการบางอย่างของโรค เช่น การดำดิ่งในห้วงอารมณ์อันแตกต่างแบบสุดๆ การคิดเยอะ หรือมีจินตนาการพวยพุ่งมหาศาล ก็กลายเป็นแรงผลักดันให้คนกลุ่มนี้สามารถสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่น่าทึ่งเช่นกัน[/su_quote]

 

เรียบเรียงเนื้อหาจากหนังสือ เรื่องเล่าบนยอดภูเขาน้ำแข็ง เขียนโดย ดาวเดียวดาย

บันทึกจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เขียนจากความทรงจำและประสบการณ์ในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชกว่า 8 ปี

ที่ต้องต่อสู้กับการทำความเข้าใจจิตใจ ความคิด อารมณ์ความรู้สึกของตนเองจนหาย

โรคซึมเศร้า

 

 

 

2 thoughts on “9 บุคคลดังระดับโลกที่คุณอาจคิดไม่ถึงว่าพวกเขาก็เป็น ‘โรคซึมเศร้า’

  1. Pingback: 5 วรรณกรรมเยาวชน ต้นแบบ โรคผิดปกติทางจิต ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

  2. สุรีย์พร says:

    ขอบคุณมากๆที่แชร์เรื่องราวดีๆให้อ่านกันค่ะ ?

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า