Tag Archives: สุขภาพ

นั่งนาน = ตายเร็ว! ผลกระทบจากการนั่งทำงานนานเกินไป

รู้ไหมว่าการ นั่งนาน ไม่ลุกจากเก้าอี้ติดต่อกันหลายชั่วโมงส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายของเราอย่างมาก เห็นได้ชัดที่สุดก็คืออาการปวดหลัง ปวดบ่า ที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องพบเจอ มาดูกันว่าการ นั่งนาน มีผลเสียกับเราอย่างไรบ้าง   นั่งนาน = ตายเร็ว ทำไมแค่การนั่งธรรมดาถึงมีโอกาสตายสูงขึ้น คำตอบคือ การนั่งเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2.5 ชั่วโมง โดยไม่เคลื่อนไหวทำให้กิจกรรมทางร่างกายลดลง ระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายช้าลง เกิดการสะสมของไขมันและความอ้วนตามมา จนนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขข้ออักเสบ และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวพันกับการมีน้ำหนักเกินปกติ นอกจากการนั่งนานๆ แล้ว “การนั่งผิดท่า” ก็ส่งผลกระทบมากมายต่อชีวิตของเราได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ทำให้เกิดการปวดหลังส่วนล่าง อาการปวดร้าว หรืออาการชาลงขา   ผลกระทบจากการนั่ง แม้กล้ามเนื้อบริเวณหลังจะเป็นกล้ามเนื้อที่มีความทนทานสูง แต่กล้ามเนื้อส่วนนี้ก็ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้นานเกิน 2 ชั่วโมง ถ้าเกินไปจากนี้ ความสามารถในการคงท่าที่ถูกต้องจะลดลงทันที เพราะกล้ามเนื้อล้า หลังจากนั้นข้อต่อ กระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังจะถูกแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงให้ยู่เข้าหากันเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยพยุง และเกิดผลกระทบตามมาหลายอย่าง ดังต่อไปนี้   หมอนรองกระดูกปลิ้น เมื่อหมอนรองกระดูกถูกแรงกระทำมากๆ หรือเคลื่อนไหวผิดท่าจนเกิดแรงกระทำรุนแรงผิดทิศทางจนหมอนรองกระดูกปลิ้นตามแนวกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทวางตัวในแนวยาวชิดแนวกระดูกสันหลังลงไปยังขา เมื่อหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาก็จะไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าว […]

8 พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม รู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา

ยารักษาโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิต แต่ก็อาจก่อให้เกิดโทษมหันต์ได้หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง เรามักมี พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม อยู่หลายประการที่ควรรู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา     พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม 1 ลืมกินยา ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางคนเคยลืมกินยาก็ไม่มีอาการผิดปกติ จึงคิดว่า “ไม่จำเป็นต้องกินยาทุกวันก็ได้” ซึ่งเป็น พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง เพราะโชคดีว่าวันนั้นอาการไม่กำเริบต่างหาก แต่ถ้าช่วงไหนโชคร้ายมีเรื่องให้เครียด อดนอน อากาศร้อน อาการก็อาจกำเริบรุนแรงพร้อมจะทำให้หลอดเลือดสมองแตกกลายเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตได้ทันที ดังนั้นการป้องกันด้วยการใช้ยาควบคุมโรคเรื้อรังจึงมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้ยารักษาภาวะแทรกซ้อน   พฤติกรรมที่ 2 เปลี่ยนวิธีการกินยาด้วยตัวเอง การเปลี่ยนวิธีการกินยาด้วยตัวเองแบ่งออกเป็นสองกรณี • ลดปริมาณยาด้วยตัวเอง ผู้ป่วยอาจจะลดยาเองด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น อาการดีขึ้นแล้ว แต่ในความเป็นจริงการทำเช่นนั้นอาจทำให้โรคกำเริบใหม่ได้ หากไม่ใช้ยาควบคุมโรคไว้ กรณีเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหายาเหลือใช้และยาเสื่อมคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่องบประมาณของประเทศ • เพิ่มปริมาณยาด้วยตัวเอง การทำเช่นนี้อาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดและเกิดอาการข้างเคียงตามมาได้ เช่น อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ทางที่ดีหากความดันโลหิตสูงขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาปรับตัวยา หรือแนะนำวิธีการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย   พฤติกรรมที่ 3 ไม่อ่านฉลากยา กินยาตามเดิม ยาโรคเรื้อรังจำเป็นต้องกินยาทุกวันจึงเกิดเป็นความเคยชิน แม้ว่าจะได้ยาใหม่ […]

5 พฤติกรรมห้ามทำที่ทุกคนต้องรู้ เพื่อเสริมสร้างให้สมองแข็งแรง

คุณมีพฤติกรรมที่ทำให้สมองไม่แข็งแรงจนเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ มาสำรวจและกระตุ้นให้สมองแข็งแรง โดยการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความตั้งใจกันดีกว่า   อยากให้ สมองแข็งแรง อย่าอยู่ในชุดอยู่บ้านทั้งวัน   ในวันหยุด การอยู่ในชุดอยู่บ้านหรือชุดนอนทั้งวัน ตื่นสายหน่อย กินมื้อเช้าตามสบาย นั่งดูทีวีไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบร้อนทำอะไร ไม่มีธุระ ต้องออกไปข้างนอก ก็เป็นเรื่องสบายดี แต่จำไว้ว่า “การปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่สนใจเสื้อผ้าหน้าผม” คือสัญญาณอย่างหนึ่งของความแก่ชรา เพราะการปล่อยปละละเลยรูปลักษณ์ตัวเองนาน ๆ จะทำให้ “สูญเสียทักษะการสวมใส่เครื่องนุ่งห่ม” ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณแรก ๆ ของการเป็นโรคสมองเสื่อม ดังนั้น เพื่อให้สมองแข็งแรง ไม่ให้สมองของเราแก่ลง เมื่อตื่นนอนต้องเปลี่ยน เสื้อผ้าชุดใหม่ทันทีให้เป็นนิสัย เตรียมเสื้อผ้าที่จะใส่ในวันต่อไปไว้ข้างหมอน โดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและกิจกรรมที่จะทำในแต่ละวัน พรุ่งนี้อากาศจะเป็นอย่างไร แดดจะร้อนหรือฝนจะตก จะต้องออกไปพบใคร จะใส่ชุดลำลองหรือชุดทางการดี… การนึกวาดภาพและวางแผน ล่วงหน้าเป็นการกระตุ้นให้กลีบสมองส่วนหน้าทำงาน และช่วยให้สมองห่างไกลความชราได้ในที่สุด   อย่ามัวแต่ถ่ายรูปพร่ำเพรื่อ     ทุกวันนี้การใช้สมาร์ทโฟนถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกลายเป็นสิ่งที่นิยมทำกัน แต่อยากให้ระวังการตั้งหน้าตั้งตากับการถ่ายรูปมากเกินไป ทันทีที่เดินทางถึงสถานที่ท่องเที่ยวก็กด “แชะ” เห็นเหตุการณ์อะไร หรือเจอคนที่มีชื่อเสียงก็กดถ่ายทันทีโดยไม่สนใจสิ่งใด การทำเช่นนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้สมองเสื่อม ทั้งนี้เพราะ […]

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ป้องกัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ : กฎเหล็กเพื่อป้องกันโรคที่ทุกคนต้องรู้

ปัสสาวะบ่อยจนแทบนั่งไม่ติดเก้าอี้ อั้นแทบไม่ได้ มีอาการปวดท้องน้อย แสบที่ท่อปัสสาวะ ต้องระวัง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นะ นี่คือกฎเหล็กวิธีป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่ทุกคนต้องรู้ เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นะจ๊ะ   กฎเหล็กป้องกัน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กินผัก + ดื่มน้ำมากๆ   เพื่อป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อผลิตปริมาณปัสสาวะที่เหมาะสม นอกจากนี้ ควรกินผักผลไม้มากๆ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ระบบขับถ่ายโดยรวมจะได้เป็นปกติ   กฎเหล็กป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ข้อควรระวังเวลาขับถ่าย       เมื่อปวดปัสสาวะอย่ากลั้นปัสสาวะเป็นอันขาด นอกจากนี้หากเป็นไปได้ให้อุจจาระและปัสสาวะให้เป็นเวลาจนเป็นกิจวัตร อีกทั่งเวลาอุจจาระและปัสสาวะ ระวังอย่าให้กระเด็นมาข้างหน้า และอย่าใช้ยาสวนล้างช่องคลอดบ่อยเกินไป   หลักการทำความสะอาดที่ถูก   เพื่อป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การทำความสะอาดที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญ อย่าใช้น้ำหอมหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ฉีดพ่นบริเวณท่อปัสสาวะหรือช่องคลอด หลังอุจจาระควรล้างน้ำให้สะอาด หรือใช้กระดาษชำระเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง   ดูแลอวัยวะเพศให้สะอาด   ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อนมีเพศสัมพันธ์ และควรปัสสาวะก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อให้กระเพราะปัสสาวะว่าง และปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ทันทีอีกครั้ง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสวมชุดชั้นใน หรือกางเกงที่รัดท้องน้อยและขามากเกินไปด้วยนะ […]

สัญญาณอันตราย ระวัง หมอนรองกระดูทับเส้นประสาท ปวดหลัง

สัญญาณอันตรายร่วมกับอาการปวดหลัง ระวังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาเยือน

สัญญาณอันตรายที่ไม่ใช่อาการปวดหลังธรรมดาเพราะอาจกลายเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรตรวจเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้ทัน   สัญญาณอันตรายที่ต้องระวังว่าจะเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการที่เกิดร่วมกับการปวดหลังที่เราต้องระวังและตรวจเพิ่มเติม เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้   อาการปวดหลังที่เกิดในผู้ที่อายุเกิน 50 ปี หรือน้อยกว่า 20 ปี     มีอาการปวดมานานเกิน 6 – 8 สัปดาห์ มีไข้ ปวดกลางคืนหรือขณะนอนพัก มีประวัติเป็นโรคเนื้องอก เช่น มะเร็ง น้ำหนักลดเบื่ออาหาร มีประวัติการติดยา ติดเหล้า หรือติดเชื้อ เช่น เป็นวัณโรค ภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีประวัติพลัดตกหกล้ม หรือมีประวัติการกระทบกระเทือนหรือใช้งานสันหลังที่เบากว่านั้น แต่เกิดกับผู้สูงวัยที่มีกระดูกบางหรือกระดูกพรุน     มีอาการผิดปกติของระบบประสาทที่อยู่ใกล้เคียงกับกระดูกสันหลังซึ่งอาจมีอาการอ่อนแรงหรือขาชา มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ   โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทนั้น เกิดจากความเสื่อม หรือการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก ผสมกับอิริยาบถที่ทำให้เกิดแรงเครียดต่อหมอนรองกระดูกเป็นสาเหตุหลัก ก็มีโอกาสจะทำให้เกิดอาการปวดยาวนานและเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อการงานและกิจกรรมที่ชื่นชอบ คุณภาพชีวิตตกต่ำลง รวมทั้งกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ […]

ประโยชน์ของการกระตุ้นนิ้วโป้งเพื่อผ่อนคลายสมอง

เรามาดูข้อเท็จจริงจากการทดลองที่ชี้ให้เห็นว่าการกระตุ้นนิ้วโป้งเพื่อ ผ่อนคลายสมอง ส่งผลให้สมองตื่นตัวมีชีวิตชีวาขึ้น และส่งผลดีต่อชีวิตมากเพียงใด การกดจุดที่นิ้วโป้ง ผ่อนคลายสมอง มีผลดีดังนี้   ป้องกันโรคสมองเสื่อม นิ้วและมือมีสัดส่วนพื้นที่ภายนอกร่างกายประมาณ 1 ใน 10 แต่ครองพื้นที่การควบคุมจากสมองถึง 1 ใน 3 เมื่อเราเคลื่อนไหวนิ้วและมือ ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังส่วนปฏิบัติงานและส่วนรับความรู้สึกของสมองจะเพิ่มขึ้นกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สมองใหญ่ได้รับแรงกระตุ้น จึงช่วยป้องกันการเกิดอาการของโรคสมองเสื่อม   ยืดอายุให้ยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี เมื่ออายุเกินหกสิบ มักจะเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง อยากมีอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลานหรือคนอื่นๆ การกระตุ้นนิ้วโป้งนอกจากช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมแล้ว ยังช่วยปรับการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย สมองผ่อนคลาย จึงช่วยเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้ “อายุยืนยาวและมีสุขภาพดี”     ขจัดอารมณ์โกรธและหงุดหงิด ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักอยู่กับที่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ขยับตัวมากนัก เช่น นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งเล่นสมาร์ทโฟน เป็นต้น จึงทำให้สมองเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา เช่น ความรู้สึกเบื่อหน่าย จิตใจไม่แจ่มใส อารมณ์หงุดหงิดกระวนกระวาย ไม่มีความสุข มือเท้าบวม […]

โรคตับ ใครคิดว่าไม่สำคัญ คุณมีพฤติกรรมทำร้ายตับหรือไม่

ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์เท่านั้นที่สามารถทำร้ายตับจนทำให้เป็น โรคตับ แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เราเห็นว่าเป็นเรื่องปกติและคิดเอาเองว่าไม่ได้สุ่มเสี่ยงอะไรนั้น กลับส่งผลร้ายต่อตับ จนเกิดเป็นโรคตับ ได้เช่นกัน ลองมาเช็กกันดูซิว่า เรากำลังทำร้ายตัวเองให้เป็นโรคตับโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า   พฤติกรรมเสี่ยง โรคตับ สายดริ๊งค์ สายเมา ดื่มยันสว่าง ปาร์ตี้หมูกระทะ สารพัดปิ้งย่าง ชาบู สุกี้ จิ้มจุ่ม สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย เจ้าพ่อ / เจ้าแม่ยาสมุนไพรมาเอง ปวดหัว เป็นไข้ ไม่สบายเมื่อไร ก็เรียกหา “พาราเซตามอล” ไว้ก่อน สาวกหมอตี๋ตัวยง ยาชุดเท่านั้นที่ต้องการ โรงพยาบาลไม่ต้องไป คลินิกไม่ต้องเข้า อดมื้อเช้า ขาประจำมื้อดึก (ดึกแค่ไหนก็ไม่เป็นอุปสรรคในการกิน) รับประทานวิตามิน อาหารเสริมต่าง ๆ เป็นประจำ ใครบอกอะไรดี อะไรเด่น เป็นต้องขอลองหมด! ชอบเมนูสตรีทฟู้ดทุกชนิด จะสะอาดถูกหลักอนามัยหรือเปล่าไม่ใช่ปัญหา ขออร่อยไว้ก่อน อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เลือดยังแดง ๆ อยู่ในเนื้อ นี่แหละของเด็ด! ไส้กรอก […]

เทคนิคบริหารสมอง เพื่อป้องกันอาการขี้ลืม

เทคนิค บริหารสมอง ให้ตื่นตัวอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน จะสามารถช่วยให้เราห่างไกลจากภาวะขี้หลงขี้ลืมได้ เพราะสมองจะยังคงพัฒนาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไปนี้คือ เทคนิค บริหารสมอง ที่ทุกคนสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที ไม่ว่าจะอายุ 70 หรือ 80 ปี ก็ไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มลงมือ   บริหารสมอง ด้วยการฝึกประสิทธิภาพความจำ เพื่อป้องกันโรคหลงลืม   เคยไหมที่อยู่ๆ ก็นึกชื่อคนไม่ออกเวลาสนทนา มักไม่สามารถระบุชื่อสิ่งที่ต้องการพูดถึงได้ นึกไม่ออกว่าเมื่อวานกินอะไรเป็นมื้อเย็น ลืมนัด ไปซื้อของแต่กลับลืมซื้อสิ่งของสำคัญที่ต้องการจะซื้อ เป็นต้น การลืมสิ่งต่างๆ หลังจากเวลาผ่านไปสักพัก คืออาการ ที่บ่งชี้ว่าประสิทธิภาพความจำเริ่มลดลง ดังนั้น การบริหารสมองเพื่อป้องกันอาการขี้ลืมคือ ให้หมั่นสังเกตและดูนาฬิกา ตลอดจนพยายามใช้ชีวิตประจำวันโดยใส่ใจเรื่องเวลาให้มากขึ้น และพยายามฝึกใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ก็จะช่วยป้องกันภาวะหลงลืมได้   ฝึกจดจำตำแหน่งสิ่งของ   เคยไหมที่หากุญแจประตูบ้านไม่เจอ หรือลืมว่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ที่ไหน หากรู้สึกว่าเริ่มมีพฤติกรรมหาของบ่อยขึ้น นั่นแสดงว่า ประสิทธิภาพการจำเรื่องสถานที่เริ่มเสื่อมถอยลง และหากมีพฤติกรรมหลงลืมตำแหน่งที่วางสิ่งของบ่อยตั้งแต่อายุยังน้อย ก็มีแนวโน้มที่จะลืมได้ง่ายขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อาการหลงลืมบางอย่างก็ไม่น่ากังวล เช่น ขณะที่กำลังจัดตู้เสื้อผ้า ก็มีบุรุษไปรษณีย์นำของมาส่งให้ พอได้รับของแล้วก็รีบโทร.ไปขอบคุณเพื่อน แล้วก็เผลอคุยกับเพื่อนเพลินจนลืมไปว่า ก่อนหน้านี้กำลังทำอะไร โดยทั่วไปแล้วขณะที่เรากำลังทำกิจกรรมบางอย่างอยู่ […]

ท่าบริหารร่างกายสำหรับคนที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม : แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

โรคข้อเสื่อมที่พบบ่อยคือ ข้อเข่าเสื่อม รู้หรือไม่ว่าอาการนี้ สามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ด้วยการบริหารเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ และสร้างความยืดหยุ่นของข้อต่อ ซึ่งท่าสำหรับบริหารร่างกายสำหรับคนที่มีอาการ ข้อเข่าเสื่อม นั้น ทำได้ง่ายมากๆ ดังนี้   ท่าบริหารร่างกายสำหรับอาการ ข้อเข่าเสื่อม ท่าที่ 1   ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่นของข้อต่อ ท่าแรก ให้นอนหงาย หนุนหมอน แขนทั้งสองวางแนบลำตัวตามสบาย แล้วเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาให้ลูกสะบ้าเคลื่อนที่ขึ้นบนโดยเข่าไม่เคลื่อนที่ ต้องเกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ เป็นเวลานานประมาณ 6 – 10 วินาที (นับในใจ) แล้วจึงผ่อนแรง ควรทำวันละ 20 – 30 ครั้ง   ท่าบริหารท่าที่ 2   นอนหงาย หนุนหมอนสูง แขนทั้งสองวางแนบลำตัวตามสบาย ใช้หมอนสูงประมาณ 3 นิ้วสอดใต้ข้อเข่าแล้วกดข้อเข่าลงบนหมอน ข้อเข่าจะมีการเคลื่อนที่เล็กน้อย กล้ามเนื้อต้นขาจะเกร็งตัว ให้เกร็งไว้เป็นเวลานานประมาณ 6 – 10 วินาทีแล้วจึงผ่อนแรง ควรทำวันละ […]

วิธีบริหารดวงตาด้วยปากกา : สายตาดีด้วยวิธีมหัศจรรย์

เชื่อไหมว่า…ปากกา 1 ด้าม ช่วยให้เรามีสายตาดีขึ้นได้!? วิธีบริหารดวงตา Pen Exercise Steps ด้วยปากกานี้จะช่วยฟื้นฟูดวงตาของคุณได้อย่างเห็นผล วิธีบริหารดวงตา ด้วยปากกานี้ ฝึกได้ทั้งผู้ที่มีสายตาปกติ และสายตาสั้น – ยาว ใช้เวลาเพียงแค่ 14 วัน เท่านั้น เทียบค่าวัดสายตาก่อนและหลังฝึกได้เลย!   วิธีบริหารดวงตา สำหรับผู้มีสายตาสั้น   สำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นนั้น วิธีบริหารดวงตา เพื่อฟื้นฟูสายตา มี 7 ขั้นตอนดังนี้ 1. มองที่หัวปากกา กะพริบตาหนึ่งครั้งนับ 1 2. ค่อย ๆ ลากปากกาไปด้านหน้าตรง ๆ กะพริบตานับ 2 3. เคลื่อนปากกาไปตาด้านที่ปิด กะพริบตานับ 3 4. เคลื่อนปากกาเข้ามาใกล้ตาด้านที่ปิด หรือใกล้จมูก กะพริบตานับ 4 5. เคลื่อนปากกาไปเหมือนลำดับที่สาม กะพริบตานับ 5 6. […]

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า