โรคซึมเศร้า เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเป็นอย่างไร รักษาหายได้หรือไม่ และอีกหลายคำถามที่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดควรรู้ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี 2547 พบว่า โรคซึมเศร้า พบมากเป็นอันดับ 3 ของโรคที่คุกคามคนทั่วโลก (Global burden of diseases) คาดการณ์ว่าในปี 2563 โรคซึมเศร้า จะเป็นปัญหาการเจ็บป่วยอันดับ 2 ของประชากรโลก รองจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ และอาจแซงไปเป็นอับดับ 1 ได้ในอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น ในประเทศไทยเองก็มีสถิติที่น่ากลัวอยู่เช่นกัน มีผู้ป่วยซึมเศร้าอยู่ประมาณ 3 ล้านคน แต่มาพบจิตแพทย์ไม่ถึงแสนคน อีกสองล้านคน ปล่อยให้ความเศร้าหดหู่กัดกินความรู้สึกไปเรื่อยๆ เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเผชิญกับ โรคซึมเศร้า อยู่หรือไม่ ดังนั้น เราลองมาสำรวจตัวเองและทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าไปพร้อมกัน ผ่านคำถาม 10 คำถามต่อไปนี้ เรียบเรียงจากหนังสือ “เรื่องเล่าจากยอดภูเขาน้ำแข็ง” เขียนโดย ดาวเดียวดาย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ต่อสู้กับอาการมานานกว่า 7 ปี ดาวเดียวดาย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ต่อสู้กับอาการมานานกว่า 7 ปี […]
Tag Archives: โรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะรู้สึกอ่อนไหวกับอารมณ์ ความรู้สึกและคำพูดมากกว่าปกติ บางครั้งการชวนคุยหรือพูดให้กำลังใจด้วยความหวังดี อาจทำให้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แย่ลงแบบไม่ได้ตั้งใจ แม้กระทั่งคำพูดที่คิดมาอย่างดีแล้วว่าจะต้องช่วยได้ เช่น สู้ๆ นะ เป็นกำลังใจให้, เราเข้าใจเธอนะ ฯลฯ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงได้ มาดูกันว่าคำพูดแบบไหนที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบ้าง “เศร้านานเกินไปแล้ว เมื่อไหร่จะดีขึ้นเสียที” คนซึมเศร้าย่อมมีอารมณ์ที่อ่อนไหวมากกว่าคนปกติ ใช่ว่าพวกเขาจะไม่อยากดีขึ้นเสียเมื่อไหร่ เพียงแต่ว่าพวกเขาไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงดีขึ้น การพูดแบบนี้เหมือนยิ่งไปกดดันให้เลิกเศร้าระคนสงสาร ความสงสารยิ่งเป็นสิ่งต้องห้ามของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่า ตัวเองด้อยค่า รันทด จนคนอื่นต้องมาสงสาร “เป็นซึมเศร้าจริงเหรอ คิดไปเองหรือเปล่า” ในกรณีที่ยังไม่ได้ไปพบจิตแพทย์ คำพูดนี้อาจทำให้พวกเขาพลาดโอกาสในการรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะคิดว่าตัวเองคิดไปเอง ส่วนถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วแต่ยังมาเจอคำพูดแบบนี้อีก คนฟังก็ยิ่งเสียกำลังใจ ขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการรักษาและคิดว่าไม่มีใครให้ความสำคัญต่อความเจ็บป่วยของเขาเลย “หัดคิดบวกบ้างสิ จะได้เลิกเศร้า” โรคซึมเศร้าไม่ได้เปลี่ยนทัศนคติแล้วหายทันที ต่อให้พวกเขาพยายามคิดบวกมากเท่าไร แต่อาการซึมเศร้าก็กลับมาอยู่ดี เพราะมันคือ “โรค” ที่ต้องรักษาเยียวยาอย่างถูกต้องจากจิตแพทย์ ต้องเป็นขั้นเป็นตอนและใช้เวลา จะให้หายทันทีปุบปับไม่ได้ “ไปเข้าวัดซะบ้าง จิตใจจะได้สงบๆ” ต้องอธิบายให้ฟังก่อนว่า การเข้าวัดแบบเข้าไปทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมแบบปกติไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสงบลง หากจิตใจของเขายังคงพะวง […]
รู้ไหมว่า… “ในคนจำนวน 5 คน จะมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 1 คน” นั่นหมายความว่าทุกที่ที่เราไป หรืออาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือเราก็มีสิทธิ์ที่จะเป็น โรคซึมเศร้า ด้วยกันทั้งนั้น หากพบว่าคนใกล้ตัวของเราเป็นโรคซึมเศร้าแล้วเราต้องทำอย่างไรเมื่อต้องเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเยียวยาความทุกข์ให้กับตัวเองหรือพวกเขาเหล่านั้น ลองมาดู 6 คำแนะนำดีๆ จาก “ดาวเดียวดาย” อดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รับมือกับอาการป่วยอย่างเข้มแข็งและกล้าหาญมานานกว่า 7 ปี ซึ่งเธอได้ถ่ายทอดเรื่องราวและคำแนะนำผ่านหนังสือ “เรื่องเล่าจากยอดภูเขาน้ำแข็ง” หนังสือเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า ที่มีคนบอกต่อมากที่สุด ทีมงาน Amarinbooks หวังว่าคำแนะนำส่วนหนึ่งจากหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้ที่กำลังเผชิญกับ โรคซึมเศร้า สามารถรับมือและเยียวยาโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกวิธี พบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องแปลก ผู้ป่วยจิตเวชบางคนมักกลัวการไปพบจิตแพทย์ กลัวสายตาคนรอบข้าง กลัวเพื่อนหาว่าไม่ปกติ จริงๆ แล้วการพบแพทย์เป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอันดับต้นๆ จะได้รักษาได้ถูกต้องตามอาการ กินยาตามกำหนด และห้ามหยุดยาเองก่อนแพทย์สั่งเด็ดขาด หากมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นจากการกินยา เช่น นอนทั้งวัน ท้องผูก ให้จดบันทึกอาการเหล่านั้นไว้ แล้วนำไปแจ้งจิตแพทย์ในครั้งต่อไป ได้รับความเอาใจใส่จากครอบครัวและคนใกล้ชิด จิตแพทย์เล่าว่า […]
หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวชศาสตร์ พูดถึงโรคซึมเศร้า ผ่านหนังสือเรื่อง โรคซึมเศร้า (สำนักพิมพ์ Amarin Health) ไว้ดังนี้ [su_quote]โรคซึมเศร้ามีอยู่จริง ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามิได้คิดไปเอง [/su_quote] ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ใช่คนอ่อนแอ คิดมาก หรือคิดไปเอง หรือยอมแพ้ต่อชีวิต ความจริงคือเขาป่วยด้วยโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า โรคซึมเศร้า เหมือนคนอื่นๆ ที่อาจป่วยด้วยโรคไข้หวัด โดยโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช ไม่ใช่โรคทางกาย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการชัดเจนและรุนแรงระดับหนึ่ง โรคซึมเศร้าจะไม่หายไปเอง ไม่หายด้วยการทำใจหรือปล่อยวาง หรือได้รับคำปลอบใจให้เข้มแข็ง ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการการรักษาจากจิตแพทย์ และสิ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กำลังเรียนหนังสือ วัยทำงาน มักต้องการให้คนในครอบครัวและคนรอบข้างเข้าใจและยอมรับความเจ็บป่วยที่เขากำลังเผชิญ ยอมรับว่าเขาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจริง ไม่ได้อ่อนแอหรือคิดไปเอง โรคซึมเศร้า : สาเหตุ หากประมวลสาเหตุใหญ่ๆ ทั้งหมด ประวัติของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรจะประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้ ไม่มากก็น้อย นั่นคือ มีประวัติกรรมพันธุ์ของโรคซึมเศร้า มีญาติคนใดคนหนึ่งป่วยด้วยโรคซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตาย มีประวัติพ่อแม่ไม่เลี้ยงดูมากพอ หรือมาจากครอบครัวแตกแยกที่ไม่มีใครรับผิดชอบเด็กอย่างจริงจัง มีประวัติเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นสุขเสมอมา และผู้ป่วยต้องตกอยู่ในสภาพที่หมดหวังและหมดทางช่วยเหลือ […]
การเป็นผู้ป่วย โรคซึมเศร้า แบบไบโพลาร์ ต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะอารมณ์สุดโต่งเพราะสารเคมีในสมองแปรปรวน มันอาจไม่ใช่เรื่องดีของชีวิตเท่าไหร่นัก อีกมุมหนึ่งกลับทำให้รู้ว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้สมบูรณ์แบบ 100% ไม่มีคนใดในโลกเป็นคนสมบูรณ์แบบ แต่คนไม่สมบูรณ์แบบสามารถทำสิ่งน่าทึ่งและประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า และผู้ป่วยไบโพลาร์คนดังเหล่านี้ พวกเขาสร้างสรรค์ผลงานมีค่าขึ้นมาประดับโลกมากมาย แม้จะได้ชื่อว่าผู้ป่วยก็ตาม